วันเสาร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

โรคหลอดเลือดแดงแข็ง

โรคหลอดเลือดแดงแข็ง
    หลอดเลือดแดง (Artery) เป็นชื่อเรียกรวมหลอดเลือดแดงทั่วร่างกาย ซึ่งคือหลอดเลือดที่นำอาหารและออกซิเจนไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆทั่วร่างกาย โดยทั่วไปหลอดเลือดแดงจะไม่มีชื่อเฉพาะ แต่จะเรียกชื่อตามอวัยวะที่หลอดเลือดแดงหล่อเลี้ยง เช่น หลอดเลือดแดงสมอง หลอดเลือดแดงหัวใจ และหลอดเลือดแดงไต เป็นต้น

แต่ทั้งนี้หลอดเลือดแดงขนาดใหญ่ที่ออกจากหัวใจห้องล่างซ้าย ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของหลอดเลือดแดงทั้งหมด จะมีชื่อเรียกเฉพาะว่า ท่อเลือดแดง หรือ เอออร์ตา (Aorta) โดยเมื่อออกจากหัวใจแล้ว จะมีหลอดเลือดแดงมากมายแตกแขนงออกไปจากท่อเลือดแดง เพื่อหล่อเลี้ยงอวัยวะต่างๆทั่วร่างกาย โดยเรียกชื่อหลอดเลือดแดงแขนงเหล่านี้ตามชื่ออวัยวะที่หล่อเลี้ยงดังได้กล่าวแล้ว
ดังนั้น หลอดเลือดแดงแข็ง จึงหมายถึงหลอดเลือดแดงทั้งหมด รวมถึงท่อเลือดแดง ซึ่งภาษาแพทย์ใช้คำว่า Atherosclerosis และพจนานุกรมศัพท์แพทย์ อังกฤษ-ไทย ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้คำแปลว่า “โรคท่อเลือดแดงและหลอดเลือดแดงแข็ง”“หลอดเลือดแดง”“โรคหลอดเลือดแดงแข็ง” แต่ในบทความนี้ ขอเรียกรวม ท่อเลือดแดง และหลอดเลือดแดงทั้งหมดว่า และขอเรียกชื่อโรคนี้ว่า
หลอดเลือดแดง ที่มักเกิดหลอดเลือดแดงแข็ง มักเกิดเฉพาะหลอดเลือดแดงขนาดใหญ่ และหลอดเลือดแดงขนาดกลางเท่านั้น ไม่ค่อยพบเกิดในหลอดเลือดแดงขนาดเล็กๆ
     หลอดเลือดแดงแข็ง เป็นโรคของผู้ใหญ่ มักพบก่อให้เกิดอาการได้ตั้งแต่ อายุ 40 ปีขึ้นไป ทั้งผู้ชายและผู้หญิงมีโอกาสเกิดโรคได้ใกล้เคียงกัน โดยอุบัติการณ์ของโรคที่แท้จริงยังไม่ทราบ ทั้งนี้เพราะเมื่อเริ่มเกิดโรค ผู้ป่วยมักยังไม่มีอาการ ยกเว้นเฉพาะโรคหลอดเลือดแดงหัวใจแข็ง (โรคหลอดเลือดหัวใจ) ซึ่งมีวิธีการทางการแพทย์ในการตรวจคัดกรองโรค โดยในสหรัฐอเมริกา พบหลอดแดงหัวใจแข็งได้ประมาณ 36% ของประชากรทั้งหมด และประมาณ 20% ของผู้เสียชีวิตทั้งหมด จะเสียชีวิตจากสาเหตุนี้
   หลอดเลือดแดงแข็งเกิดได้อย่างไร?
กลไกการเกิดหลอดเลือดแดงแข็งเกิดจาก มีการบาดเจ็บอักเสบของผนังหลอดเลือดแดง ซึ่งเชื่อว่าอาจเกิดจากภาวะไขมันชนิดไม่ดี (LDL,Low density lipoprotein) ในเลือดสูง ส่งผลให้ผนังหลอดเลือดแดงอักเสบ เกิดกล้ามเนื้อหลอดเลือดเจริญผิดปกติเป็นหย่อมๆ และเซลล์เม็ดเลือดขาวเข้าไปเกาะในตำแหน่งที่อักเสบ ร่วมกับผนังหลอดเลือดแดงตำแหน่งที่อัก เสบมีการเกิดสิ่งที่เรียกว่า แผ่นพลาค หรือ พลาค (Plaque) ซึ่งประกอบด้วยไขมัน แคลเซียม และสารต่างๆในเลือด เช่น เม็ดเลือดขาว ส่งผลให้ผนังหลอดเลือดแข็ง และท่อภายในหลอดเลือดตีบ จึงส่งผลให้เนื้อเยื่อ/อวัยวะ ที่หล่อเลี้ยงด้วยหลอดเลือดผิดปกติเหล่านี้เกิดการขาดเลือด จึงก่ออาการผิดปกติ หรือโรคต่างๆเกิดขึ้นตามมา
หลอดเลือดแดงแข็งมีสาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยงจากอะไร?
สาเหตุที่แท้จริงที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดแข็ง ยังไม่ทราบ แต่พบปัจจัยเสี่ยงได้ดังนี้
ปัจจัยเสี่ยงสำคัญ ได้แก่
การมีไขมันในเลือดสูง โดยเฉพาะไขมันชนิดไม่ดี และการมีไขมันชนิดดี (HDL, High lipoprotein) ในเลือดต่ำ
การสูบบุหรี่ เพราะมีสารพิษก่อให้ผนังหลอดเลือดอักเสบ
โรคความดันโลหิตสูง
โรคเบาหวาน เพราะเป็นสาเหตุของผนังหลอดเลือดอักเสบ
โรคอ้วน น้ำหนักตัวเกิน เพราะมักเป็นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคโรคไขมันในเลือดสูง
ขาดการออกกำลังกาย
กินอาหารไม่มีประโยชน์ โดยเฉพาะ น้ำตาล เค็ม/เกลือโซเดียม และไขมัน
สูงอายุ ในผู้ชายตั้งแต่อายุ 45 ปีขึ้นไป ในผู้หญิงอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป (วัยหมดประจำเดือน)
พันธุกรรม โดยมีประวัติครอบครัวสายตรงเป็นโรคนี้ตั้งแต่อายุยังน้อย กล่าวคือ บิดาหรือพี่น้องผู้ชาย เป็นโรคนี้ก่อนอายุ 55 ปี มารดาหรือพี่น้องผู้หญิง เป็นโรคนี้ก่อนอายุ 65 ปี
ปัจจัยเสี่ยงที่ตรวจพบได้ในเลือด ได้แก่
มีโปรตีนชนิด CRP (C-reactive protein,โปรตีนที่เกิดจากการอักเสบของเซลล์ในร่างกาย) ในเลือดสูง
มีไขมันชนิดไตรกลีเซรายด์ (Triglyceride) ในเลือดสูง
ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆที่ลดความสำคัญลงมา ได้แก่
โรคนอนหลับแล้วหยุดหายใจ
อารมณ์ จิตใจ เช่น ความเครียด
การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
เพศชาย และเพศหญิงวัยหมดประจำเดือน
หลอดเลือดแดงแข็งมีอาการอย่างไร?
เมื่อเริ่มเป็นโรค มักไม่มีอาการ จนกว่าหลอดเลือดจะตีบมากจนอวัยวะนั้นๆขาดเลือด จึงจะเกิดอาการ โดยอาการจะแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละคน ทั้งนี้ขึ้นกับว่าเกิดโรคกับหลอดเลือดแดงของอวัยวะอะไร
อวัยวะที่เมื่อขาดเลือดแล้วจะก่ออาการสำคัญ อาจส่งผลถึงชีวิตและคุณภาพชีวิตได้แก่ สมอง หัวใจ ไต และหลอดเลือดแดงแขน ขา ดังนั้นจึงจะกล่าวถึงเฉพาะอาการที่เกิดจากหลอดเลือดแดงแข็งของอวัยวะเหล่านี้เท่านั้น
อาการจากหลอดเลือดแดงสมองแข็ง จะเกิดจากเนื้อเยื่อสมองขาดเลือด (โรคหลอดเลือดสมองชา ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด พูดไม่ได้ วิงเวียน/เวียนศีรษะ และโคม่า ) โดยอาการที่พบบ่อย เช่น แขน ขาอ่อนแรงทันที ปวดศีรษะมากและทันที สับสน หน้า
อาการจากหลอดเลือดแดงหัวใจแข็ง เป็นอาการจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเจ็บแน่นหน้าอก มักร้าวมายัง คอ กระดูกกราม ไหล่ และแขน โดยเฉพาะด้านซ้าย หายใจลำบาก เหงื่อออกมาก และคล้ายจะเป็นลม ) โดยอาการที่พบได้บ่อย เช่น
อาการจากหลอดเลือดแดงไตแข็ง เกิดจากเนื้อเยื่อไตขาดเลือด อาการพบบ่อย เช่น เหนื่อยง่าย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ บวมเท้า ปัสสาวะผิดปกติ อาจน้ำปัสสาวะมาก หรือน้ำปัสสาวะน้อยก็ได้ ร่วมกับมีความดันโลหิตสูง
อาการจากหลอดเลือดแดงแขน ขา แข็ง เกิดจากเนื้อเยื่อเกี่ยวพันของแขนและขาขาดเลือด อาการพบบ่อย เช่น เป็นตะคริวบ่อย ปวดเมื่อยแขน ขาตลอดเวลา ขนแขน และขาร่วง บาง มือ เท้า เย็น และเมื่อหลอดเลือดตีบมาก มือ เท้า เล็บอาจเขียวคล้ำ
แพทย์วินิจฉัยโรคหลอดเลือดแดงแข็งได้อย่างไร?
แพทย์วินิจฉัยโรคหลอดเลือดแข็ง ได้จาก ประวัติอาการ และปัจจัยเสี่ยงต่างๆดังได้กล่าวแล้วในหัวข้อ สาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยง การตรวจร่างกาย การตรวจเลือด ดูค่าน้ำตาล ไขมันรวม ไข มันชนิดต่างๆ และสารต่างๆในเลือด การตรวจปัสสาวะ การตรวจภาพปอดด้วยเอกซเรย์ การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และการตรวจเฉพาะต่างๆ เช่น การตรวจคลื่นหัวใจขณะออกกำลังกาย (Stress test) การตรวจภาพหลอดเลือด และการทำงานด้วย อัลตราซาวด์ และอาจมีการตรวจอื่นๆเพิ่มเติมทั้งนี้ขึ้นกับความผิดปกติที่แพทย์ตรวจพบและดุลพินิจของแพทย์ เช่น การบันทึก ภาพรังสีหลอดเลือด (Angiogram การตรวจหลอดเลือดด้วยการฉีดสี/สารทึบแสงเข้าไปในหลอดเลือด แล้วเอกซเรย์ภาพหลอดเลือดนั้นๆ)
หลอดเลือดแดงแข็งรุนแรงไหม? มีผลข้างเคียงอย่างไร?
โรคหลอดเลือดแดงแข็งจัดเป็นโรคอันตราย เพราะนำไปสู่การขาดเลือดของเนื้อเยื่อ/อวัยวะต่างๆได้ ซึ่งถ้าเกิดกับอวัยวะสำคัญ ก็เป็นสาเหตุให้เกิดการเสียคุณภาพชีวิต และถึงเสีย ชีวิตได้ เช่น เมื่อเกิดกับหลอดเลือดหัวใจ ก็จะส่งผลให้เกิด โรคหลอดเลือดหัวใจและโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย เมื่อเกิดกับหลอดเลือดสมอง ก็จะส่งผลให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง อัมพฤกษ์ อัมพาต หรือถ้าเกิดกับหลอดเลือดขา ก็จะส่งผลให้ เกิดภาวะขาชา ปวด และ/หรือเกิดแผลเรื้อรังรักษายาก เป็นต้น
ผลข้างเคียงที่เกิดจากโรคหลอดเลือดแดงแข็ง คือ การด้อยประสิทธิภาพ หรือสูญเสียการทำงานของเนื้อเยื่อ/อวัยวะต่างๆที่เกิดหลอดเลือดแดงแข็ง ซึ่งขึ้นกับว่าเป็นหลอดเลือดแดงที่หล่อเลี้ยงอวัยวะใด เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ หรือโรคหลอดเลือดสมอง เป็นต้น นอกจาก นั้น เมื่อเกิดหลอดเลือดแดงแข็ง หลอดเลือดจะขาดการยืดหยุ่น เมื่อมีเลือดไหลเวียนผ่านตลอดเวลา จะส่งผลให้ความดันเลือด/ ความดันโลหิต ดันให้เกิดการโป่งพองของผนังหลอดเลือด เกิดเป็นโรคที่เรียกว่า โรคหลอดเลือดโป่งพอง (Aneurysm) ซึ่งส่งผลให้ผนังหลอดเลือดส่วนนี้ แตกได้ง่าย เกิดภาวะเลือดออกมากจนเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตกะทันหันได้
รักษาหลอดเลือดแดงแข็งได้อย่างไร?
แนวทางการรักษาโรคหลอดเลือดแดงแข็ง คือ การรักษาประคับประคองตามอาการ การรักษาควบคุมโรคที่เป็นสาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยง การป้องกันการเกิดลิ่มเลือด และการขยายหลอดเลือด
การรักษาประคับประคองตามอาการ เช่น การใช้ยาแก้ปวด กรณีมีการปวด
การรักษาควบคุมโรคที่เป็นสาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยง เช่น การรักษาควบคุมโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคอ้วนและน้ำหนักตัวเกิน การปรับพฤติกรรมการใช้ชี วิต และการควบคุมอาหาร (อาหารป้องกันโรคหลอดเลือดแดงแข็ง)
การป้องกันการเกิดลิ่มเลือดซึ่งจะเป็นสาเหตุให้หลอดเลือดอุดตัน คือ การกินยาละลายลิ่มเลือด เช่น ยาในกลุ่ม Fibrinolysis และยาป้องกันการเกิดลิ่มเลือด (ยาต้านการทำงานของเกล็ดเลือด ซึ่งมีหน้าที่ทำให้เลือดแข็งตัว) เช่น แอสไพริน
การขยายหลอดเลือด เช่น การใช้บอลลูน (Balloon) หรือลวดตาข่าย (Stent) หรือการตัดต่อหลอดเลือด (Graft) ซึ่งจะเลือกวิธีการใด ขึ้นกับว่าเป็นหลอดเลือดของอวัยวะใด การตีบตันเกิดในตำแหน่งใดของหลอดเลือด อายุ สุขภาพร่างกายผู้ป่วย และดุลพินิจของแพทย์
ดูแลตนเองอย่างไรเมื่อมีหลอดเลือดแดงแข็ง? ควรพบแพทย์เมื่อไร?
การดูแลตนเอง และการพบแพทย์เมื่อมีหลอดเลือดแดงแข็ง ที่สำคัญที่สุด คือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต และการดูแลในเรื่องอาหาร
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต ได้แก่
เลิกบุหรี่ ไม่สูบบุหรี่
ออกกำลังกายสม่ำเสมอตามควรกับสุขภาพ เคลื่อนไหวร่างกายเสมอ
จำกัดสุรา เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ผู้ชายวันละไม่เกิน 2 ดริงค์ (Drink) ผู้หญิงวันละไม่เกิน 1 ดริงค์
มีอารมณ์ จิตใจ เบิกบาน แจ่มใส เข้าใจชีวิต ยอมรับความจริง ลดความเครียด
การดูแลในเรื่องอาหาร ได้แก่ กินอาหารมีประโยชน์ 5 หมู่ให้ครบทุกวัน โดยจำกัดอา หารไขมัน แป้ง (กินแป้งจากธัญพืชที่ไม่ขัดสี) น้ำตาล และอาหารเค็ม/เกลือโซเดียม รวมทั้งจำ กัดเนื้อสัตว์ประเภทเนื้อแดง (เนื้อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) แต่กินผัก ผลไม้มากขึ้น รวมทั้งในทุกมื้ออาหารและเป็นอาหารว่าง (อาหารป้องกันโรคหลอดเลือดแดงแข็ง)
การดูแลตนเองในด้านอื่นๆ ได้แก่
รักษาควบคุมโรคที่เป็นสาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยง เช่น โรคไขมันในเลือดสูง โรคความดันโลหิตสูง และ โรคเบาหวาน
ควบคุมน้ำหนัก และลดน้ำหนักเมื่อเป็นโรคอ้วนหรือมีน้ำหนักตัวเกิน ด้วยการควบ คุมอาหาร และการออกกำลังกาย และ/หรือตามคำแนะนำของแพทย์ พยาบาล
การพบแพทย์ ควรมีการตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อดูการทำงานของหัวใจ ความดันโลหิต ระดับน้ำตาล ไขมันในเลือด และการทำงานของไต เพื่อคัดกรองความผิดปกติต่างๆ เพื่อการควบคุมรักษาแต่เนิ่นๆ
ส่วนเมื่อตรวจพบว่ามีโรคหลอดเลือดแดงแข็งแล้ว การดูแลตนเอง คือ การปฏิบัติตามแพทย์ พยาบาลผู้ให้การรักษาแนะนำ และควรพบแพทย์ตามนัดเสมอ โดยพบแพทย์ก่อนนัดถ้ามีอาการต่างๆผิดปกติไปจากเดิม หรือมีอาการต่างๆเลวลง นอกจากนั้น คือ การป้องกัน รักษา ควบคุมโรคที่เป็นสาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยง
ป้องกันหลอดเลือดแดงแข็งได้อย่างไร?สามารถป้องกัน และชะลอการแข็งตัวของหลอดเลือดแดงได้โดย
 



หลีกเลี่ยงสาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวแล้วในหัวข้อ สาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยง เช่น การสูบบุหรี่ และโรคอ้วน
ปรับพฤติกรรมการกินอาหาร เช่น กินอาหารมีประโยชน์ 5 หมู่ให้ครบทุกวัน และจำ กัดปริมาณอาหาร ไม่ให้เกิดโรคอ้วนหรือน้ำหนักตัวเกิน (อาหารป้องกันโรคหลอดเลือดแดงแข็ง)
ถ้าอ้วนหรือน้ำหนักตัวเกิน ควรต้องพยายามลดน้ำหนัก และควบคุมน้ำหนัก โดยการควบคุมอาหารและการออกกำลังกาย
ออกกำลังกายสม่ำเสมอทุกวันตามควรกับสุขภาพ เคลื่อนไหวร่างกายเสมอ
เลิกบุหรี่ ไม่สูบบุหรี่ และจำกัดการดื่มสุราดังกล่าวแล้วในหัวข้อการดูแลตนเอง
รักษาสุขภาพจิต มีสุขภาพจิตที่ดี ควบคุมอารมณ์ให้ได้
รักษาควบคุมโรคที่เป็นสาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยง
ตรวจสุขภาพประจำปี (การตรวจสุขภาพ) เพื่อการคัดกรองโรคสำคัญต่างๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจ โรคไตเรื้อรัง เป็นต้น เพื่อการป้องกัน รักษาควบคุมแต่เนิ่นๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น