วันพุธที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2556

แผนธุรกิจรายได้และผลประโยชน์

แผนธุรกิจ
ธุรกิจของเราเป็นแผนธุรกิจที่มีความเป็นธรรมเป็นแผนที่ให้ผลตอบแทนกับคนที่ทำงานงานเท่านั้น ลักษณะของรายได้เป็นแผนรายได้ที่ให้ความเป็นธรรมและมีจุดเด่นคือเป็นแผนที่ก้าวล้ำไปในอนาคตที่เราสามารถจับต้องได้อย่างเป็นรูปธรรม
มองดูโดยผิวเผินจะละม้ายตล้ายกับแผนธุรกิจขายครงทั่วๆไป แต่ความแตกต่างของสินค้า ความแตกต่างของระบบจัดการรายได้ ความแตกต่างของผลของรายได้จะแตกต่างจากธุรกิจอื่นๆ อย่างสิ้นเชิง
      เงินรายได้จากธุรกิจนี้มาจากไหน ทำไมถึงจ่ายจริง ทำไมมีคนทำกันมาก สินค้าแพงมากเพราะต้องเอาเงินไปจ่ายให้สมาชิกใช่หรือไม่ ?
     ตามกฎของธุรกิจทั่วๆ ไป ต้นทุนของสินค้าทุกอย่างจะอยู่ที่ 40 % ของราคาขาบ ( ราคาเต้มสินค้า )
ส่วนที่เป็นกำไร 60 % จะมีการแบ่งกันไปตามกลไกลการค้า แบ่งให้ผู้แทนการขาย แบ่งให้พ่อค้าคนกลางที่เอาสินค้าไปขาย แบ่งกำไรเป็นค่าโฆษณาในสื่อต่างๆ เช่น ทีวี หนังสือพิมพ์ หนังสือนิตยสารต่างๆ รายการวิทยุ แผ่นพับแผ่นใบปลิวต่างๆ และอื่นๆ
     เราไม่มีโฆษณา เราไม่มีกลไกลคนกลางมารับหน้าที่ขายสินค้าให้เรา เรานำ 60 % นี้มาจัดสรรเป็นรายได้ในแต่ละระดับให้กับผู้ร่วมธุรกิจ จึงเป็นที่มาของแผนธุรกิจ
 

     แผนการจ่ายผลตอบแทนของแอมเวย์ได้รับการพิสูจน์และยอมรับจากนักธุรกิจ แอมเวย์แล้วว่า เป็นแผนที่เป็นไปได้จริง สามารถสร้างงาน สร้างรายได้ และสร้าง ความมั่นคงให้แก่นักธุรกิจแอมเวย์ได้ เพื่อให้ทุกคนสามารถเติบโตและได้รับ รางวัลแห่งความสำเร็จได้จริง มีความยุติธรรม คุ้มค่ากับความทุ่มเทในการดำเนิน ธุรกิจของแต่ละคน ไม่ว่าใครจะมาก่อนหรือมาหลังก็สามารถประสบความสำเร็จ ได้เท่าเทียมกัน โดยจะคำนึงและเพิ่มผลประโยชน์ให้แก่นักธุรกิจแอมเวย์ที่มี 

     ผลงานและความสามารถ ซึ่งหมายถึง นักธุรกิจแอมเวย์ที่มีความเป็นผู้นำ และการให้บริการ มีการสร้างแรงบันดาลใจ และการฝึกอบรมผู้นำรายใหม่ๆ 
     ค่าตอบแทนทั้งหมดภายใต้แผนธุรกิจของแอมเวย์ มีรายได้หลักคือ การจำหน่าย ผลิตภัณฑ์แอมเวย์ ซึ่งราคาจำหน่ายผลิตภัณฑ์ คือผลตอบแทนที่นักธุรกิจ แอมเวย์จะได้รับในอัตราส่วนที่เหมาะสม และยุติธรรมต่อการบริการลูกค้าคนสำคัญ และผลตอบแทนในรูปแบบของโบนัส ซึ่งจะขึ้นอยู่กับผลงานกลุ่มธุรกิจ ที่คุณสร้างขึ้น 
     ธุรกิจแอมเวย์ยังเป็นโอกาสที่คุณกำหนดความสำเร็จและผลตอบแทนได้ด้วย ตัวเองหากแต่คุณเลือกที่จะตัดสินใจจากการวางแผนในแต่ละเดือนแผนการ จ่ายผลตอบแทนที่ยุติธรรมคือสิ่งที่แอมเวย์ให้ความสำคัญอย่างสูงสุดไม่มีการ เอาเปรียบในธุรกิจ หรือใครมาก่อนหรือหลังขึ้นอยู่กับการดำเนินธุรกิจของคุณ ต่างหากที่จะเป็นตัวแปรใครทำมากได้มาก ทำน้อยได้น้อย ด้วยหลักการนี้เอง จึงทำให้แอมเวย์เป็นแผนธุรกิจขายตรงหลายชั้นที่เป็นจริง ยุติธรรม และเป็นที่รู้จัก ยอมรับจากผู้คนทั่วโลกมานานถึง 50 ปี 
  อ่านต่อ
แผนธุรกิจของเรา
แบบนี้
แบบนี้
และแบบนี้
เป็นแผนธุรกิจแบบแบ่งผลตอบแทน หลายชั้น ยุติธรรมและเป็นธรรม ใครทำงานคนนั้นได้ผลตอบแทนไม่เป็นแบบมาก่อนแล้วได้ตลอดกาลเหมือนแผนธุรกิจแบบปิรามิดหรือในจำพวก ไบนารี่ ที่จะให้ผลตอบแทนได้ดีไม่เกิน 3 ชั้นขององค์กรธุรกิจ

ธุรกิจโปร่งใส 
แผนธุรกิจ 




แผนการจ่ายค่าตอบแทน
Amway ใช้แผนการจ่ายค่าตอบแทนแบบ Stair Step – Break Away นั่นคือ ไม่มีข้อจำกัดเรื่องจำนวน Frontline ที่ติดตัว
Amway คำนวณค่าตอบแทนเป็นรายเดือน มีการตัดยอดแต่ละเดือน ทุกวันสิ้นเดือน และมีการจ่ายค่าตอบแทน ทุกวันที่ 15 ของเดือนถัดไป
Amway มีการคำนวณยอดธุรกิจเป็นแต้ม เรียกว่า PV โดย 1 PV ประมาณ 2.9 บาท
โดยรายได้จากแผนการตลาดของ แอมเวย์ มี 10 ทาง คือ
1.การขายปลีกสินค้า: เราจะได้รับส่วนต่าง 25% จากการที่เราซื้อสินค้าในราคาสมาชิก และนำไปขาย ในราคาปกติ (รายได้นี้เป็น Active Income ข้อเดียว
2.ส่วนลดแตกต่าง 6-21%: เราจะได้รับส่วนลดแตกต่าง ในกรณีที่เราอยู่ในระดับส่วนลดที่สูงกว่า ดาวน์ไลน์ (DL) ของเรา
เช่น ถ้าเรามีระดับส่วนลดอยู่ที่ 15%  ส่วน DL ของเรา ชื่อ นาย A มีระดับส่วนลดอยู่ที่ 0% เพราะเป็นสมาชิกแบบซื้อใช้สินค้า เราก็จะได้รับส่วนลดแตกต่าง 15% จากยอดซื้อของ นาย A
ยอดธุรกิจ (PV)
ส่วนลด
5,000
6%
15,000
9%
30,000
12%
55,000
15%
90,000
18%
150,000
  21 %
3.ส่วนลดผู้นำ 4%: เมื่อเราช่วยให้ DL ของเราอยู่ที่ระดับส่วนลด 21% (ซึ่งเราเรียกว่าการ Break Away) เราจะได้รับ “ส่วนลดผู้นำ 4%” จากยอดธุรกิจของ DL  และเราจะไม่นำยอดธุรกิจของ DL มานับรวมกับยอดธุรกิจของเราในการคำนวณ “ส่วนลดแตกต่าง 3-21%”  เช่น ถ้าเรามียอดธุรกิจ 250,000 PV แต่เรามียอดธุรกิจจากนาย B 150,000 PV เราจะได้รับ ส่วนลดผู้นำ 4% จาก 150,000 PV และเรามียอดธุรกิจส่วนที่เหลือ 100,000 PV เราก็จะได้รับส่วนลดแตกต่างที่ระดับ 18%
4.ส่วนลดทับทิม 2%: เมื่อเราสร้างยอดธุรกิจได้มากกว่า 300,000 PV โดยไม่มี DL ของเราที่มีระดับส่วนลด 21% เลย เราจะได้รับ “ส่วนลดทับทิม 2%” จากยอดธุรกิจ
5.ส่วนลดไข่มุก 1%: เมื่อเราช่วยให้ DL ของเราอย่างน้อย 3 คน มีระดับส่วนลด 21% และเราช่วยให้ DL ของเราคนใดคนหนึ่งใน 3 คน ช่วยให้ DL ของเค้าให้มีส่วนลดระดับ 21% เราจะได้รับ “ส่วนลดไข่มุก 1%” จาก DL ของ DL ของเราที่มีระดับส่วนลด 21% ดังรูป
6.ส่วนลดมรกต 0.25% : เมื่อเราช่วยให้ DL ของเราอย่างน้อย 3 คน มีระดับส่วนลด 21% เราจะเป็นหุ้นส่วนทางธุรกิจของAmwayอย่างเต็มตัวทันที เพราะเราจะได้รับ “ส่วนลดมรกต 0.25%” โดยคำนวณจากยอดธุรกิจทั้งหมดของบริษัท และนำมาแบ่งเท่าๆกันกับผู้ที่ได้รับส่วนลดมรกตคนอื่น เช่น ในปี 2554 Amwayมียอดธุรกิจประมาณ 15,000  บาท ส่วนลดมรกตก็จะเท่ากับ 37.5 ล้านบาท และนำมาแบ่งให้กับผู้ที่ได้รับส่วนลดมรกตตามสัดส่วนของยอดค้าแต่ละคน
7.ส่วนลดเพชร 0.25%: เมื่อเราช่วยให้ DL ของเราอย่างน้อย 6 คน มีระดับส่วนลด 21% เราจะได้รับ “ส่วนลดเพชร  0.25%” โดยคำนวณจากยอดธุรกิจทั้งหมดของบริษัท และนำมาแบ่งกับผู้ที่ได้รับส่วนลดเพชรคนอื่น ตามสัดส่วนของยอดค้าแต่ละคน
8.ส่วนลดเพชรบริหาร 0.25%: เมื่อเราช่วยให้ DL ของเราอย่างน้อย 9 คน มีระดับส่วนลด 21% เราจะได้รับ “ส่วนลดเพชรบริหาร  0.25%” โดยคำนวณจากยอดธุรกิจทั้งหมดของบริษัท และนำมาแบ่งกับผู้ที่ได้รับส่วนลดเพชรบริหารคนอื่น ตามสัดส่วนของยอดค้าแต่ละคน
9.รางวัลเงินสดจ่ายครั้งเดียว: เมื่อช่วย DL ของเราให้มีระดับส่วนลด 21% อย่างน้อย 12 คน เราจะได้รับรางวัลเงินสดจ่ายครั้งเดียวตั้งแต่ 650,000 บาท ถึง 4,550,000 บาท
10.รางวัลสองผู้สถาปนา: เมื่อช่วย DL ให้ประสบความสำเร็จมากขึ้นจะมีรายได้มากขึ้น โดยนับตำแหน่งสูงสุดในแต่ละสายงานแล้วนำมารวมเป็นคะแนน ดังนี้ ในสายงานมีผู้สำเร็จเป็นแพลตินัม 1 คะแนน, มรกต 1.5 คะแนน, เพชร 3 คะแนน และเมื่อนำมารวมกันแล้วจะจ่ายเงินให้เป็นรายปี
สินค้าเด่นของ แอมเวย์
Amwayมีสินค้าหลากหลายกลุ่ม เช่น อาหารเสริม (Nutrilite) ผลิตภัณฑ์ดูแลผิว (Artistry) ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดและ Body Series  เครื่องกรองน้ำ (eSpring) เครื่องกรองอากาศ (Atmosphere) และชุดเครื่องครัว (iCook)
อาหารเสริม: Protein และ DoubleX
ผลิตภัณฑ์ดูแลผิว: Artistry เป็นแบรนด์เครื่องสำอางค์ที่ติด Top5 ของโลก
ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดและ Body Care: น้ำยาทำความสะอาดอเนกประสงค์ (L.O.C.), ผงซักฟอก (SA8) และยาสีฟัน (Glister)
อาวุธหนัก: สินค้าราคาสูงที่มีการซื้อเพียงครั้งเดียว คือ เครื่องกรองน้ำ เครื่องกรองอากาศ และชุดเครื่องครัว



วันอาทิตย์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2556

เติมสิ่งที่ขาดและขจัดสิ่งที่เกินด้วยผลิตภัณฑ์อันทรงคุณภาพของเรา

เติมสิ่งที่ขาดและขจัดสิ่งที่เกินด้วยผลิตภัณฑ์อันทรงคุณภาพของเรา
      เราทราบกันดีอยู่แล้วว่าการรักษาโรคด้วยยาเคมี ส่งผลข้างเคียงต่อสุขภาพของเราเป็นอย่างมาก วิวัฒนาการอันทันสมัยของเครื่องมือการแพทย์ไม่ได้ทำให้เหล่าปัจจัยในการเกิดโรคลดน้อยลงแต่อย่างไร เป็นการเพิ่มทางเลือกให้กับผู้ป่วยสามารถเลือกได้ในการรับการรักษาและผู้ป่วยที่เลือกได้ก็ไม่ใช่ผู้ป่วยทุกๆ คน ( ต้องมีฐานะการเงินที่เหลือเก็บมากๆ ) แล้วคนธรรมดาที่เป็นโรคอยู่จะทำอย่างไร
     ด้วนองค์ความรู้ของคนไทยและองค์ความรู้เรื่องคุณสมบัติของสารอาหารในผลิตภัณฑ์ของเรา เราสามารถนำมาใช้ช่วยเหลือผู้มุ่งหวังหรือลูกค้าของเราได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยผลงานของทีมปฎิบัติการ บริษัท นิวทรีไลน์ ท่านสามารถอ้างอิงผลงานวิจัย

เพื่อเพิ่มความมั่นใจให้กับลูกค้าและผู้มุ่งหวัง โดยผลงานของเรามีลิขสิทธิ์คุ้มครองสงวนไว้ให้เราได้ใช้อ้างอิงไว้เป็นรุปธรรมและนามธรรมได้ด้วยความเป็นหุ้นส่วนทางธุรกิจของเรา
การใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลเรื่องของอาหารการกินที่เกินความจำเป็นจนเป็นเหตุให้เราเจ็บป่วย
สารอาหารที่สำคัญนี้เป็นสารอาหารที่มักจะได้เกินความจำเป็นของร่างกาย " ไขมัน "
     ไขมันเป็นสารอาหารที่จำเป็นชนิดหนึ่งของร่างกาย เราทานให้พอเหมาะร่างกายก็จะได้ไขมันเพื่อนำไปใช้ในการผลิตเป็นพลังงานให้แก่ร่างกาย แต่ปัจจุบันเราทานอาหารประเภทนี้มากเกินไป ร่างกายของเรานอกจากได้รับไขมันจากการรับประทานอาหารประเภทไขมันโดยตรงและร่างกายยังเปลี่ยนอาหารประเภทแป้ง ( ข้าวและขนมปังที่เราทาน ) มาเป็นไขมันอีกทางหนึ่ง
     ไขมันเหลือใช้ร่างกายจะนำไปสะสมไว้ตามใต้ผิวหนังของเราทำให้เราดอ้วนและไขมันที่เกินจะไปเกาะอยู่ตามผนังอวัยวะต่างๆ ทั่วร่างกาย เกาะพอประมาณก็ไม่ก่อให้เกิดปัญหาแต่ถ้าหากมากเกินไปจะไปเกะกะปิดกันไม่ให้อวัยวะต่างๆทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ เช่น ไปเกาะอยู่ที่ผนังหลอดเลือดจะทำให้หลอดเลือดตีบไหลเวียนไม่สะดวกหัวใจต้องออกแรงบีบมากขึ้นเลยทำให้ความดันสูงถ้าเกิดที่หัวใจทำให้หัวใจขาดเลือดไปเลี้ยงอาจทำให้หัวใจวาย ไปเกิดที่สมองทำให้เป็นโรคอัมพฤตอัมพาตเส้นเลือดในสมองแตกเป็นต้น
     เราใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร กระเทียม น้ำมันปลา มัลติไปเบอร์หรือเส้นใยชนิดผง ไปดูแลให้ไขมันทั้งสองตัว คือ LDL และ HDL อยู่ในภาวะสมดุล เมื่อความสมดุลมีมากลูกค้าที่เราดูแลก็จะมีสุขภาพดีไม่ต้องทานยาหมอเพื่อลดไขมันดังกล่าวและผู้ป่วยที่อยู่ในความดูแลของหมอ เมื่อเราดูแลให้ระดับไขมันเขาสมดุลโรคร้ายที่เป็นอยู่จะพัฒนาดีขึ้นจนอาจหายเป็นปกติ
     เราจะได้แต้มที่เป็นผลจากการใช้ผลิตภัณฑ์ดังนี้
1. กระเทียม มีแต้มอยู่ที่ 368 แต้ม 
=======================================

 2.น้ำมันปลามีแต้มอยู่ที่ 261 แต้ม

================================

3.ไฟเบอร์ พาวเดอร์มีแต้มอยู่ที่ 502 แต้ม


================================

ชุดนี้เราจะได้แต้มจากการใช้ของลูกค้ารวมอยู่ที่ 1131 แต้ม
================================
    ผลิตภัณฑ์ของเรามีมากกว่า 2000 รายการ ในหมวดหมู่มากกว่า 5 หมวดหมู่ เราเลือกหมู่ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพมาใช้เป็นหลักเนื่องจากว่าหากเราเจ็บป่วย อาการเจ็บป่วยมีความจำเป็นต้องดูแลเพื่อให้เรามีชีวิตที่ยืนยาวอย่างแข็งแรงมีพลังที่จะดำเนินชีวิตอยู่ต่อไป และการสะสมยอดธุรกิจจากกลุ่มสุขภาพมีความมั่นคงกว่าผลิตภัณฑ์กลุ่มอื่นๆ
     ผลิตภัณฑ์ที่เราใช้ดูแลเรื่องไขมันเกินจะเป็นผลิตภัณฑ์ชนิดเม็ดเป็นส่วนใหญ่ แตละชนิดมีความสามารถช่วยเราดูแลเรื่องไขมันเกินแตกต่างกันออกไปเนื่องจาดข้อจำกัดเรื่องการนำวัตถุดิบมาใช้ต้องมีกระบวนการที่เอื้อซึ่งกันและกัน เราจึงไม่สามารถผลิตผลิตภัณฑ์ชนิดเดียวที่สามารถดูแลทุกอาการได้ในผลิตภัณฑ์เดียวแต่ทีมงานกำลังหาวิธีในการผลิตคาดว่าคงไม่เหนือความสามารถในการคิดแนวทางการผลิตในอนาคต
     

ยาลดไขมันในเส้นเลือด

ยาลดไขมันในเส้นเลือด 
     เป็นกลุ่มของเภสัชภัณฑ์ที่ใช้รักษาไขมันในเส้นเลือดสูงกว่าปกติ (hyperlipidemia) พวกมันถูกเรียกว่า ยาลดไขมัน (lipid-lowering drugs ) หรือ (LLD) ตัวอย่างของยาลดไขมันได้แก่ สแตติน (statin) ไฟเบรต (fibrate) กรดนิโคตินิก (nicotinic acid) ไบล์แอซิดซีเควสแตรนด์ (bile acid sequestrant) (resins) ไฟโตรสเตอรอล (Phytosterol) (Cholesterol Absorption Inhibitors) CETP อินฮิบิเตอร์ (CETP inhibitors)

ยาที่ใช้ในภาวะไขมันในเลือดสูง
แพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยใช้ยาร่วมด้วย ยาที่ใช้สำหรับภาวะไขมันในเลือดสูงมีอยู่หลายกลุ่ม ได้แก่
ยากลุ่ม statins เช่น simvastatin , atrorvastatin , rosuvastatin ยากลุ่มนี้สามารถลดโคเลสเตอรอลได้ดี ลดไตรกลีเซอไรด์ได้เล็กน้อย
ยากลุ่ม fibric acids derivatives เช่น gemfibrozil , fenofibrate , bezafibrate ยากลุ่มนี้สามารถลดไตรกลีเซอไรด์ได้ดี ลดโคเลสเตอรอลได้เล็กน้อย
ยากลุ่ม nicotinic acid และ analogue เช่น niacin , acipimox ยากลุ่มนี้สามารถลดไตรกลีเซอไรด์ได้ดี ลดโคเลสเตอรอลได้เล็กน้อย
ยากลุ่ม bile acid sequestrants เช่น cholestyramineยากลุ่มนี้ลดเพียงโคเลสเตอรอลอย่างเดียว
กลุ่มยาลดไขมัน ที่ขณะนี้ประเทศไทยมียาที่ผลิตได้เอง ในกลุ่ม Simvastatin หลายบริษัทด้วยกัน โดยมีสรรพคุณเทียบเคียงได้กับยาต้นแบบ

ข้อสำคัญในการใช้ยา การสั่งใช้ และข้อควรระวังในเรื่องยาตีกัน อาจต้องเคร่งครัด

จริงอยู่อุบัติการณ์ในการเกิดปวดกล้ามเนื้อ แม้จะไม่มากประมาณ 3-5 ใน 1,000 และถึงขั้นรุนแรงจนแหลกสลายจะน้อยกว่าก็ตาม จากข้อมูลในต่างประเทศ ซึ่งเกี่ยวพันกับ "ดวง" หรือยีน (gene) และปัจจัยอื่นๆ ที่กล่าวไปแล้ว โดยปกติยีนที่มีบทบาทในการเกิดปฏิกิริยาที่ไม่พึงประสงค์ของยา และมีการศึกษามากจะตกในกลุ่มยีนที่ควบคุมการย่อยสลาย (metabolizing enzymes) การส่งผ่าน (transporter) ซึ่งมีผลต่อระดับยาและการขับถ่ายยาออกจากร่างกาย
และยีน HLA ซึ่งเกี่ยวพันกับปฏิกิริยาแพ้ แต่การศึกษายีนเหล่านี้มีข้อจำกัดที่ศึกษาไม่ได้หลายตำแหน่ง การศึกษาล่าสุดหมดทั้ง genome ของมนุษย์ใน 85 คน ที่ได้รับยาแล้วมีอาการทางกล้ามเนื้อกับ 90 คนที่ไม่มีอาการ พบว่าเกี่ยวกันกับยีนที่อยู่ในโครโมโซม 12 ในตำแหน่งของ SLCOIBI จากการศึกษา single nucleotide polymorphism (SNP) มากกว่า 300,000 ตำแหน่ง ซึ่งผลที่ได้นำไปทำการพิสูจน์ในผู้ป่วยกลุ่มใหญ่อีกครั้ง

การมียีนจำเพาะในตำแหน่งดังกล่าว ส่งผลควบคุมทำให้ระดับยาในเลือดเพิ่มขึ้นเป็นพิเศษ และยาเข้าตับได้มากขึ้น และยังอาจอธิบายได้ว่า ทำไมยาแต่ละตัวในกลุ่ม Statin อาจมีความดีมากน้อยไม่เท่ากัน (คณะทำงาน SEARCH วารสารนิวอิงแลนด์ เดือน ส.ค. 2008) และยังอาจเป็นข้ออธิบายได้ว่าทำไมมีผลในแต่ละเชื้อชาติต่างกัน

อาทิเช่น คนไทยมักมีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และมีหลายรายที่รุนแรงจนกล้ามเนื้อแหลกสลายมากกว่า แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น อาจเกิดเนื่องจากมีตัวเสริม คือ สภาพไตบกพร่องอยู่แล้ว และมีการใช้ยาอื่นร่วมด้วย หรือเมื่อมีสัญญาณเตือนด้วยอาการเมื่อยกล้ามเนื้อก็ยังคงใช้ยาต่อไปอีกอาจเกิดอันตรายได้

การที่ยาลดไขมัน statin เป็นที่แพร่หลายทั่วโลก ทั้งนี้ ประโยชน์อาจไม่ได้เกิดจากการที่ยาไปลดไขมันไม่ดีโดดๆ พบว่าอาจยังมีผลดีต่อการช่วยการทำงานของหลอดเลือด และมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ (แต่ไม่ใช่ยาแก้อักเสบฆ่าเชื้อนะครับ) ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่สำคัญในการเกิดเส้นเลือดตีบ ยา Statin จัดเป็นสุดยอดของการค้นคว้า และนำมาใช้ป้องกันโรคของเส้นเลือดตั้งแต่ก่อนเกิดโรค และใช้ในการป้องกันการเกิดซ้ำได้อีก

ทางเลือกที่ดีที่สุดคือการป้องกันไม่ให้เกิดโรคแต่หากเกิดเป็นโรคแล้วทางออกที่ดีที่สุดคือการร่วมมือกับหมอรักษาโรคไม่ให้กำเริบดูแลอย่างมีประสิทธิภาพทำอย่างไร คลิกอีกครั้งที่นี่

วันเสาร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2556

เครื่องมือเอกซ์เรย์ของแพทย์ที่ล้ำสมัย

เครื่องมือเอกซ์เรย์ของแพทย์ที่ล้ำสมัย
เครื่องตรวจวินิจฉัยโรคเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan)

เครื่องตรวจวินิจฉัยโรคเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan)
การตรวจ CT scan คืออะไร?
การตรวจ CT scan เป็นการตรวจหาความผิดปกติอวัยวะต่างๆ ในร่างกายด้วยลำแสงเอกซ์ โดยฉายลำแสงเอกซ์ผ่านอวัยวะที่ต้องการตรวจในแนวตัดขวาง และให้คอมพิวเตอร์สร้างภาพ ภาพที่ได้จึงเป็นภาพตัดขวางส่วนที่ต้องการตรวจอย่างละเอียด โดยมีข้อบ่งชี้ของการตรวจดังนี้

ตรวจหาเนื้องอกในอวัยวะต่างๆ รวมทั้งตำแหน่งและขนาดของเนื้องอก
ตรวจหาการแพร่กระจายของเนื้องอกไปยังต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ ใกล้เคียง
ตรวจดูการคั่งของเลือดในสมอง ช่องท้อง และอุ้งเชิงกราน
ตรวจหาความผิดปกติของหลอดเลือด เช่น เส้นเลือดโป่งพอง เส้นเลือดอุดตัน เป็นต้น
ตรวจหาความผิดปกติของกระดูก และข้อต่อต่างๆ เช่น การหัก การหลุด และการอักเสบ เป็นต้น
ปัจจุบันการตรวจ CT scan แบ่งเป็น 4 ระบบคือ

ระบบสมอง ได้แก่ การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ของสมอง
ต่อมใต้สมอง ตา ต่อมน้ำลาย และคอ เป็นต้น ในการตรวจนี้ จะต้องฉีดสารทึบรังสีเข้าทางหลอดเลือดดำ เพื่อช่วยให้เห็นพยาธิสภาพของโรคชัดเจนขึ้น
เครื่องตรวจวินิจฉัยโรคเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan)

ระบบช่องท้องและทรวงอก ได้แก่ การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ภายในช่องท้องและอุ้งเชิงกราน การตรวจระบบนี้ ผู้ป่วยต้องดื่มสารทึบรังสี/น้ำเปล่า และ/หรือ สวนสารทึบรังสี/น้ำเปล่า เข้าทางทวารหนัก เพื่อแยกลำไส้ออกจากเนื้อเยื่ออื่นๆ ของช่องท้อง และ ในผู้ป่วยหญิงอาจต้องใส่ผ้าอนามัยชนิดสอดภายในช่องคลอด เพื่อแยกช่องคลอดออกจากเนื้อเยื่ออื่นๆ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของรังสีแพทย์
นอกจากนี้ยังจำเป็นต้องฉีดสารทึบรังสีเข้าทางหลอดเลือดดำเพื่อช่วยให้เห็นพยาธิสภาพของโรคชัดเจนขึ้น

เครื่องตรวจวินิจฉัยโรคเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan)

ระบบกระดูก กล้ามเนื้อ ข้อต่อและกระดูกสันหลัง ซึ่งมักใช้ในการวินิจฉัยโรคเนื้องอกของกล้ามเนื้อ กระดูก หรือการอักเสบของข้อต่อต่างๆ และลักษณะทางกายวิภาคของกระดูกสันหลัง โดยสามารถให้การวินิจฉัยโรคกระดูกได้ดีกว่าการตรวจเอกซเรย์ทั่วไป
ระบบหลอดเลือด ได้แก่ การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ของหลอดเลือดสมอง หลอดเลือดหัวใจ หลอดเลือดแดงใหญ่ หลอดเลือดแดงไต และหลอดเลือดแดงที่ขา เป็นต้น
ในการตรวจนี้จำเป็นต้องฉีดสารทึบรังสีเข้าทางหลอดเลือดดำ

เครื่องตรวจวินิจฉัยโรคเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan)

ก่อนรับการตรวจ CT scan ควร…
งดอาหารและน้ำดื่มอย่างน้อย 4 -6 ชั่วโมงก่อนการตรวจ
ลงชื่อในใบยินยอมให้แพทย์ทำการตรวจและฉีดสารทึบรังสี
ในผู้ป่วยเด็กต้องได้รับยาระงับความรู้สึกหรือดมยาสลบขณะตรวจ โดยบิดามารดาต้องลงชื่อในใบยินยอมด้วย
ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น หอบหืด ภูมิแพ้ โรคไต โรคหัวใจและโรคเบาหวาน ควรแจ้งให้พยาบาลทราบทันที
ควรมีญาติมาด้วยอย่างน้อย 1 คนในวันตรวจ
เปลี่ยนเสื้อผ้าที่ห้องตรวจเตรียมไว้ให้ และถอดเครื่องประดับออกจากบริเวณที่ต้องการตรวจ
ในกรณีที่ผู้ป่วยตรวจภายในช่องท้อง ต้องดื่มสารทึบรังสีหรือน้ำเปล่า ประมาณ 3-4 แก้ว ก่อนเข้าห้องตรวจ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบริเวณที่ต้องการตรวจ
ขั้นตอนขณะรับการตรวจ CT scan

พยาบาลหรือเจ้าหน้าที่รังสีพาผู้ป่วยเข้าห้องตรวจ และจัดท่าของผู้ป่วยให้เหมาะสมกับการตรวจ ในกรณีที่ผู้ป่วยทำการตรวจช่องท้องส่วนล่าง จะได้รับการสวนสารทึบรังสีเข้าทางทวารหนักประมาณ 100-200 ซีซี. และในผู้ป่วยหญิง อาจต้องใส่ผ้าอนามัยชนิดสอดเข้าทางช่องคลอด เพื่อแยกช่องคลอดออกจากเนื้อเยื่ออื่นๆ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของรังสีแพทย์
จะฉีดสารทึบรังสีทางหลอดเลือดดำ เพื่อให้ภาพเอกซเรย์ชัดเจน ในระหว่างการฉีดสารทึบรังสีอาจจะรู้สึกร้อนวูบวาบตามร่างกายประมาณ 1-2 นาที ซึ่งอาการนี้จะหายไปได้เอง
ระหว่างตรวจจะได้ยินเสียงดังจากเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ควรนอนให้นิ่งและปฏิบัติตามคำแนะนำของนักรังสีเทคนิคอย่างเคร่งครัด
หากมีอาการผิดปกติ เช่น แน่นหน้าอก หายใจลำบาก มีผื่นคัน คลื่นไส้อาเจียน ต้องบอกเจ้าหน้าที่หรือพยาบาลให้ทราบทันที
การปฏิบัติตัวหลังการตรวจ CT scan

ผู้ป่วยรับประทานอาหารได้ตามปกติ และควรดื่มน้ำอย่างน้อย 1-2 ลิตรภายใน 24 ชั่วโมง เพื่อช่วยขับสารทึบรังสีออกจากร่างกายโดยเร็ว
หลังตรวจถ้ามีอาการผิดปกติ เช่น ผื่นขึ้น แน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก ต้องรีบแจ้งให้เจ้าหน้าที่ห้องตรวจทราบทันที
การทราบผลการตรวจ

ผู้ป่วยมาตรวจตามวันที่แพทย์นัดหมาย ไม่ต้องมารับผลการตรวจที่แผนกเอกซเรย์ โดยผลการตรวจจะถูกส่งเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของโรงพยาบาล ซึ่งแพทย์ผู้ตรวจสามารถเรียกดูผลการตรวจและภาพเอกซเรย์ผ่านระบบคอมพิวเตอร์ที่ห้องตรวจ

ข้อควรระวังของการตรวจด้วยเครื่อง CT scan

ผู้ที่มีประวัติโรคภูมิแพ้ หอบหืด มีประวัติผื่นขึ้นภายหลังรับประทานอาหารทะเล หรือมีอาการแน่น หายใจไม่ออก และผู้ที่มีประวัติแพ้สารทึบรังสี ต้องแจ้งให้พยาบาลประจำห้องตรวจทราบก่อน
ผู้ป่วยที่เป็นโรคไต หรือการทำงานของไตไม่ดี ควรปรึกษาแพทย์ก่อน
สตรีที่ตั้งครรภ์
กรณีของผู้ป่วยที่สงสัยการตั้งครรภ์ โปรดแจ้งเจ้าหน้าที่หรือ รังสีแพทย์ก่อนเริ่มทำการตรวจ

อันตรายที่ยังคงมีอยู่
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เผยผู้ป่วยที่รับการฉายรังสีด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) อาจได้รับรังสีมากกว่าการถ่ายภาพเอกซเรย์วินิจฉัยทั่วไป ซึ่งรังสีที่ผู้ป่วยจะได้รับมากน้อยนั้นมีหลายปัจจัย เช่น ขอบเขตการสแกนอวัยวะ รูปร่างของผู้ป่วย เด็กหรือผู้ใหญ่เป็นต้น ทั้งนี้การเอกซเรย์นั้นต้องอยู่ในดุลพินิจของแพทย์เพื่อความปลอดภัยของประชาชน

       นายแพทย์จักรธรรม ธรรมศักดิ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยว่า ปัจจุบันเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์(CT Scan) ได้มีการพัฒนาขีดความสามารถในการตรวจได้เร็วขึ้นและสามารถตรวจร่างกายได้หลายส่วน การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ถือเป็นการตรวจหลักในการวินิจฉัย ค้นหาและติดตามผลการรักษาโรค จากการสำรวจของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยกองรังสีและเครื่องมือแพทย์ เมื่อปี 2551 พบว่า เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ทั่วประเทศมีทั้งหมด 343 เครื่อง อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 52 เครื่อง ทั้งนี้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ตระหนักถึงปัญหาและความเสี่ยงจากการได้รับปริมาณรังสีจากการเข้ารับการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือ CT Scan จึงได้ดำเนินการตรวจสอบคุณภาพและวัดปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับจากการถ่ายภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ในโรงพยาบาลของรัฐและเอกชน โดยห้องปฏิบัติการของศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ขอนแก่น จำนวน 19 เครื่อง ใน 7 จังหวัดที่รับผิดชอบได้แก่ ขอนแก่น ร้อยเอ็ด มหาสารคาม กาฬสินธุ์ สกลนคร นครพนม และมุกดาหาร
       
       จากการสำรวจในเทคนิคพื้นฐาน คือ เอกซเรย์สมอง ช่องท้อง และปอด พบว่ามีปริมาณรังสีเฉลี่ยจากการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สูงกว่าปริมาณรังสีจากการเอกซเรย์วินิจฉัยทั่วไปที่ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ขอนแก่นได้ทำการประเมินไว้ ดังนี้คือ เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ช่องท้องจะได้รับรังสี 5.5 มิลลิเกรย์ สูงกว่าการเอกซเรย์วินิจฉัยทั่วไปที่ผู้ป่วยได้รับเพียง 2.3 มิลลิเกรย์ เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ปอดได้รับรังสี 5.9 มิลลิเกรย์ สูงกว่าการเอกซเรย์วินิจฉัยทั่วไปที่ผู้ป่วยได้รับเพียง 0.2 มิลลิเกรย์เท่านั้น
       
       ทั้งนี้ข้อมูลจากการตรวจสอบคุณภาพและปริมาณรังสีมีผู้ป่วยได้รับจากการถ่ายภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ดังกล่าว กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์จะได้นำมาใช้เป็นข้อมูลสาธารณสุขทางการแพทย์เพื่อให้หน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ใช้ประกอบในการพิจารณาและวางแผนในการป้องกันและควบคุมอันตรายจากรังสีต่อไป
       
       นายศิริพงษ์ ณ น่าน ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ขอนแก่น กล่าวเพิ่มเติมว่า รังสีที่ผู้ป่วยจะได้รับจากการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์นั้นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ได้แก่ ขอบเขตการสแกนอวัยวะ รูปร่างของผู้ป่วย ความละเอียดและจำนวนในการตัดภาพรังสี นอกจากนี้ต้องแยกระหว่างการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ระหว่างเด็กและผู้ใหญ่ด้วย
       
       อย่างไรก็ตามการจะใช้เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์นั้น ควรจะใช้ก็ต่อเมื่อแพทย์วินิจฉัยว่าจำเป็นต้องใช้เท่านั้น และเครื่องฉายรังสีก็ต้องผ่านการตรวจสอบคุณภาพจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เวลาใช้จะต้องมีนักเทคนิคเป็นผู้ควบคุมเครื่องมือ และควรพิจารณาทางเลือกอื่นที่ให้ผลตรวจใกล้เคียงกัน เช่น การตรวจเกี่ยวกับลำไส้และกระเพาะอาหาร การวินิจฉัยโรคด้วยเอกซเรย์วินิจฉัยทั่วไปหรือ อัลตราซาวด์ก็เพียงพอ หรือในกรณีที่ตรวจกระดูกและกล้ามเนื้อ การตรวจด้วยคลื่นสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) ก็เป็นตัวเลือกที่ดีกว่า ซึ่งจะทำให้การได้รับปริมาณรังสีน้อยลง มีความปลอดภัยจากและประหยัดค่าใช้จ่ายด้วย

เครื่องมือผ่าตัดของแพทย์ที่ล้ำสมัย

เครื่องมือแพทย์ที่ล้ำสมัย
การผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวชโดยใช้หุ่นยนต์ (Robotic Gynecologic Surgery)
     การผ่าตัดผ่านกล้องส่องช่องท้องหรือเรียกสั้นๆว่าการผ่าตัดผ่านกล้องฯ จัดเป็นการผ่าตัดยุคใหม่ที่รุกล้ำน้อย (minimally invasive surgery) ซึ่งมีหลักสำคัญ คือแผลขนาดเล็ก เจ็บปวดน้อย หายเร็ว และสวยงาม แต่ยังคงมีประสิทธิภาพเฉกเช่นเดียวกับการผ่าตัดผ่านแผลหน้าท้องขนาดใหญ่แบบดั้งเดิม โดยทั่วไปการผ่าตัดผ่านกล้องฯ จำเป็นต้องมีแผลบนผนังหน้าท้องขนาดเล็กๆยาว 0.5-1.0 ซม จำนวน 3-5 แผล (ขึ้นกับชนิดของการผ่าตัด) เพื่อใช้เป็นทางผ่านเข้าไปของเครื่องมือผ่าตัดและกล้องส่องช่องท้องที่เรียกว่า แลปพาโรสโคป ซึ่งต่อเชื่อมกับเครื่องรับสัญณาณเพื่อแสดงผลที่หน้าจอภาพ ทำให้แพทย์สามารถมองเห็นอวัยวะภายในช่องท้อง อุ้งเชิงกราน และควบคุมการผ่าตัดจากภายนอกช่องท้องได้ผ่านทางเครื่องมือที่สอดผ่านแผลบริเวณหน้าท้องเข้าไป อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อจำกัดในการผ่าตัดที่ซับซ้อนและยากๆ อาจทำให้ใช้เวลาในการผ่าตัดนาน จึงมีการพัฒนาหุ่นยนต์ผ่าตัดขึ้นเพื่อเอาชนะความยากลำบากของการผ่าตัดผ่านกล้องแบบปกติทั่วไป

     การผ่าตัดโดยใช้หุ่นยนต์ เป็นคำที่ใช้กันแพร่หลายแม้ว่าไม่ถูกต้องนักเพราะว่าหุ่นยนต์ไม่สามารถผ่าตัดได้เอง อันที่จริงแล้วการผ่าตัดโดยใช้หุ่นยนต์เป็นการผ่าตัดผ่านกล้องซึ่งอาศัยระบบคอมพิวเตอร์ช่วย (computer assisted) ให้แพทย์ควบคุมการผ่าตัดผ่านทางแขนกลของหุ่นยนต์ ซึ่งทำหน้าที่ถือกล้องแลปพาโรสโคปและเครื่องมือผ่าตัดต่างๆที่สอดผ่านแผลเล็กบริเวณผิวหนังหน้าท้องเข้าไปในช่องท้อง โดยแพทย์จะนั่งที่ส่วนคอนโซลควบคุมการผ่าตัดอยู่ในห้องผ่าตัดแต่ห่างจากบริเวณเตียงผ่าตัดออกมา จึงอาจเรียกว่าเป็นการผ่าตัดโดยควบคุมแขนกลจากระยะไกล (remote tele-presence manipulator) จุดเด่นของการผ่าตัดโดยใช้หุ่นยนต์ ได้แก่ ภาพที่แพทย์มองเห็นผ่านกล้องเป็นระบบภาพสามมิติ (รูปที่ 1) สามารถมองเห็นความชัดลึกทำให้กะระยะได้ถูกต้องแม่นยำเพิ่มขึ้นกว่าการผ่าตัดผ่านกล้องทั่วไป ประกอบกับเครื่องมือผ่าตัดที่ถือโดยแขนกลของหุ่นยนต์นั้นได้รับการพัฒนามาเพื่อลดข้อจำกัดของข้อมือมนุษย์ คือ สามารถงอทำมุมต่างๆและหมุนได้อิสระโดยรอบ (รูปที่ 2) ทำให้เคลื่อนไหวได้ดีกว่าเครื่องมือผ่าตัดผ่านกล้องทั่วไป การผ่าตัดเลาะเนื้อเยื่อต่างๆจึงมีความแม่นยำสูง สามารถผ่าตัดในที่เล็กๆและแคบๆได้ดี ทั้งยังช่วยลดการบาดเจ็บต่อเส้นประสาทบริเวณใกล้เคียงลง การใช้หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดจึงมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้การผ่าตัดที่ซับซ้อนและยากเมื่อทำผ่าตัดผ่านกล้องทั่วไปนั้น กลับง่ายดายเหมือนการผ่าตัดผ่านแผลเปิดหน้าท้องขนาดใหญ่ดั้งเดิม

รูปที่ 1 ภาพที่มองเห็นจากกล้องเป็นภาพที่มีความคมชัดและเป็นแบบ 3 มิติ



รูปที่ 2 ปลายเครื่องมือผ่าตัดที่สามารถงอพับและหมุนได้อย่างอิสระคล้ายมือของมนุษย์


ศูนย์ความเป็นเลิศ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้นำระบบหุ่นยนต์ผ่าตัดเข้ามาให้บริการผู้ป่วยเป็นแห่งแรกในภูมิภาค ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2555 โดยระบบที่มีใช้อยู่คือ da Vinci Surgical System รุ่น Si HD ซึ่งเป็นระบบหุ่นยนต์รุ่นล่าสุดที่ใช้กันแพร่หลายในปัจจุบัน เป็นระบบหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดที่ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาของประเทศสหรัฐให้ใช้ผ่าตัดในผู้ป่วยตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2543 และให้ใช้ผ่าตัดรักษาผู้ป่วยทางนรีเวชตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2548 เป็นต้นมา มีส่วนประกอบสามส่วนใหญ่ๆ ได้แก่ (1) ส่วนคอนโซลควบคุมการผ่าตัด (Surgical Console) (รูปที่ 3) เป็นจุดศูนย์กลางของการควบคุมระบบซึ่งแพทย์สามารถมองเห็นบริเวณผ่าตัดและควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้องส่องช่องท้องและเครื่องมือต่างๆ (2) ส่วนหุ่นยนต์ผ่าตัด (Patient-Side Cart) (รูปที่ 4) ประกอบด้วยแขนกล 3-4 แขนกล โดยเป็นแขนกลที่ใช้ถือกล้องส่องช่องท้องหนึ่งแขน ที่เหลือเป็นแขนกลที่ใช้ถือเครื่องมือผ่าตัด และ (3) ส่วนชุดอุปกรณ์เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Cart) (รูปที่ 5) ประกอบด้วยเครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆรวมทั้งซอฟแวร์ที่จำเป็นต่อระบบการผ่าตัด เช่น จอภาพ เครื่องจี้ไฟฟ้า (Electrical surgical unit) เครื่องปั๊มสำหรับต่อท่อดูดล้าง เครื่องเป่าแก๊สเข้าช่องท้อง (insufflator) และแหล่งกำเนิดแสงสำหรับกล้องส่องช่องท้อง

 รูปที่ 3 ส่วนคอนโซลควบคุมการผ่าตัด


มีข้อดีอะไรบ้าง?
      ช่วยให้การผ่าตัดที่ซับซ้อนและยากเมื่อทำผ่านกล้องส่องช่องท้องปกตินั้น ทำได้ง่ายขึ้นเมื่อใช้หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด ทำให้ผู้ป่วยมีความปลอดภัยมากขึ้น และลดระยะเวลาที่ใช้ในการผ่าตัดลง
เครื่องมือที่ใช้ผ่าตัดสามารถงอและเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระดีกว่าข้อมือของมนุษย์ ทำให้การผ่าตัดเลาะเนื้อเยื่อมีความละเอียดแม่นยำมากขึ้น
เพิ่มประสิทธิภาพของการมองเห็นภาพที่มีคุณภาพสูงระดับ HD และแบบ 3 มิติ ทำให้การผ่าตัดที่มีความละเอียดสูง เช่น การเลาะต่อมน้ำเหลืองหรือการเลาะเส้นประสาท ทำได้แม่นยำ
ช่วยลดความเหนื่อยล้าของนรีแพทย์ผู้ผ่าตัดลง เนื่องจากนั่งควบคุมการแขนกลของหุ่นยนต์ผ่าตัดที่คอนโซลซึ่งมีความนิ่งและมีระบบช่วยไม่ให้มือสั่นมีผลต่อเครื่องมือผ่าตัด
ประโยชน์อื่นๆที่ได้รับจากการผ่าตัดที่รุกล้ำน้อย (minimally invasive surgery) ได้แก่ แผลเล็ก เจ็บปวดแผลน้อย ระยะเวลานอนโรงพยาบาลและพักฟื้นสั้นกว่า

มีข้อด้อยอะไรบ้าง?
      มีค่าใช้จ่ายสูง เนื่องจากเป็นเทคโนโลยีใหม่และใช้เครื่องมือที่ซับซ้อน
เนื่องจากการผ่าตัดนั้น แพทย์ต้องควบคุมเครื่องมือผ่าตัดจากส่วนคอนโซลควบคุมแขนกลของส่วนหุ่นยนต์ ทำให้ขาดการรับประสาทสัมผัสไป แม้ว่าจะชดเชยได้บางส่วนจากคุณภาพของภาพที่มีความคมชัดและ 3 มิติ แต่เป็นข้อจำกัดที่สำคัญ การได้รับการฝึกอบรมและประสบการณ์ของนรีแพทย์ผู้ผ่าตัดเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง



รูปที่ 5 ส่วนชุดอุปกรณ์เครื่องอิเล็กทรอนิกส์และส่วนหุ่นยนต์ผ่าตัดที่มีแขนกล 4 แขน (ด้านหลัง)



รูป ทีมผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวชโดยใช้หุ่นยนต์


การผ่าตัดทางนรีเวชใดบ้างที่สามารถทำได้โดยใช้ระบบหุ่นยนต์ผ่าตัด?

แม้ว่าการผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวชทุกชนิดสามารถทำได้โดยใช้หุ่นยนต์ผ่าตัด ได้แก่ การผ่าตัดมดลูก (Hysterectomy), การผ่าตัดเนื้องอกมดลูก (Myomectomy), การผ่าตัดเย็บแขวนช่องคลอดในสตรีที่มีอวัยวะในอุ้งเชิงกรานหย่อน (Sacrocolpopexy/hysteropexy), การผ่าตัดมดลูกแบบถอนรากถอนโคน ในผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูก (Radical hysterectomy), การผ่าตัดมดกับลูกรังไข่และผ่าตัดเพื่อกำหนดระยะโรค (Surgical staging surgery) ในผู้ป่วยมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก, และการผ่าตัดต่อหมัน (Tubal reanastomosis) เป็นต้น อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการผ่าตัดโดยใช้หุ่นยนต์มีค่าใช้จ่ายที่สูงและมีภาวะแทรกซ้อนเฉพาะ การเลือกผ่าตัดวิธีนี้จึงพิจารณาเป็นกรณีๆไป ขึ้นกับโรคและความซับซ้อนของการผ่าตัด ตลอดจนความพร้อมของผู้ป่วยและทีมแพทย์พยาบาล ซึ่งคุณควรอภิปรายกับแพทย์ผู้ผ่าตัดในรายละเอียด
ขอขอบคุณ
ผศ. นพ. ชัยเลิศ พงษ์นริศร

โรคที่เกิดจากไขมันเกิน

โรคที่เกิดจากไขมันเกิน
     ไขมันในเลือดสูงหมายถึงร่างกายเรามีไขมันในกระแสเลือดสูง ไขมันที่สูงอาจจะเป็น cholesterol หรือ Triglyceride ก็ได้ ไขมันสูงจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคอัมพาต เนื่องจากไขมันสูงจะตกตะกอนที่ผิวของผนังหลอดเลือดที่เรียกว่าคราบไขมันหรือ Plaqueซึ่งจะทำให้หลอดเลือดตีบ หรือคราบอาจจะหลุดลอยไปอุดหลอดเลือดทำให้เกิิดโรค




ค่าปกติของไขมัน  อยู่ระหว่าง 140 and 200 mg/d ทางการแพทย์จะให้ความสนใจเป็นพิเศษกับไขมัน Total Chloresterol และ LDL Choresterol และไขมัน HDL Cholesterol เนื่อวจากภาวะทั้งสองสามารถควบคุมโดยการใช้ยาและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม แต่การเกิดหลอดเลือดแข็งจะดกิดเร็วหากมีภาวะไขมันผิดปกติดังนี้

มีระดับของ triglycerides (TG) สูง
ไขมัน low-density lipoprotein (LDL) สูง:ซึ่งเป็นไขมันไม่ดี
ไขมัน highdensity lipoprotein-cholesterol (HDL-C)ต่ำ
อาการของไขมันในเลือดสูงไขมันในเลือดสูงจะไม่มีอาการ การที่จะทราบว่าไขมันในเลือดสูงรู้ได้จากการเจาะเลือดตรวจ


สาเหตุของไขมันในเลือดสูง 
กรรมพันธ์ ร่างกายไม่สามารถกำจัดไขมันได้อย่างเพียงพอ
โรคเบาหวาน
พฤติกรรมในการดำรงชีพ ไม่ได้คุมอาหาร ไม่ได้ออกกำลังกาย
ปัจจัยเสี่ยงของโรคไขมันในเลือดสูง

ปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้ไขมันในเลือดสูงได้แก่
อ้วนหรือน้ำหนักเกิน
รับประทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวมาก
ออกกำลังกายไม่เพียงพอ
ประวัติครอบครัวเป็นโรคหัวใจ
ความดันโลหิตสูง
สูบบุหรี่เบาหวาน
การวินิจฉัย

ค่าปกติของไขมันในเลือด (Total cholesterol levels)
ระดับที่ต้องการ: ต่ำกว่า 200 mg/dL
สูงปานกลาง: 200 - 239 mg/dL
สูง: มากกว่า 240 mg/dL

LDL cholesterol levels:
ระดับที่ต้องการสำหรับผู้ที่เป็นโรคหัวใจหรือมีความเสี่ยงสูง: ต่ำกว่า 70 mg/dL
ระดับที่ต้องการ for people at risk of heart disease: ต่ำกว่า 100
ระดับที่ต้องการ: 100 - 129
สูงปานกลาง: 130 - 159
สูง: 160 - 189

HDL cholesterol levels:
ผลไม่ดี: ต่ำกว่า 40 mg/dL
ค่าที่ยอมรับได้: 40 - 59
ระดับที่ต้องการ: 60 or สูงกว่า

Triglyceride levels:
ระดับที่ต้องการ: ต่ำกว่า 150 mg/dL 
สูงปานกลาง: 150 - 199
สูง:สูงกว่า 200

   อันตรายต่อชีวิตของเรา  
     หากภาวะไขมันเกินเป็นประจำ ไขมันจะถูกสะสมในร่างกาย เนื้อเยื่อตลอดจนเซลล์ของร่างกายจะทำงานไม่เป็นปกติเนื่องจากไขมันมาปิดกั้นหรือขัดขวางทำให้ก่อให้เกิดอาการของโรคต่างๆ ตามมาและอันตรายกับชีวิตเราอย่างที่สุด โรคที่เกิดจากไขมันที่สะสมขัดขวางในร่างกายที่พบกันมาก ตัวอย่าง

โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย เป็นอัมพาตหรืออัมพฤกษ หลอดเลือดแดงตีบ โรคเบาหวาน  โรคแทรกซ้อนทุกระบบ ได้แก่ ระบบประสาท ตา ไต ผิวหนัง ช่องปาก คุณต้องรีบไปพบแพทย์ทันที่อย่าปล่อยไว้อันตรายมาก ในกรณีที่คุณตรวจพบโรคแล้วทานยาหมอได้สักระยะพบว่าอาการคงที่ไม่ดีขึ้น คุณอาจเลือกที่จะดูแลสุขภาพควบคู่กันไปกับการทานยาของคุณ ดูรายละเอียดคลิกที่นี่อีกครั้ง

วันเสาร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

กรดไขมันจำเป็น ( Essential Fatty Acids )


กรดไขมันจำเป็น ( Essential Fatty Acids )
            ไขมันเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตก็ว่าได้ เซลล์ของเราทุกเซลล์มี ไขมัน เป็นโครงสร้าง เยื่อหุ้มเซลล์ก็คือ ไขมัน 2 ชึ้นที่มาประกบกันอยู่ ถ้าขาดไขมันเสียเซลล์ก็จะไม่เป็นเซลล์ เมื่อไม่มีเซลล์ก็ไม่มีตัวเรา พูดให้ง่ายก็คือ ไม่มีไขมันก็ไม่มีชีวิตปราศจากโครงสร้างขั้นพื้นฐานที่สุดของชีวิต
          ไขมันเป็นกลุ่มอาหารที่ให้พลังงานสูง ไขมันปริมาณเท่ากับคาร์โบไฮเดรตและโปรตีน จะให้พลังงาน มากกว่าถึง 2 เท่า อาหารประเภทแป่ง น้ำตาล และโปรตีน 1 กรัมให้พลังงาน 4 แคลอรี่ แต่ไขมัน 1 กรัมให้พลังงานถึง 9 แคลอรี่ การดำเนินชีวิตประจำวันย่อมต้องการพลังงาน ไม่ว่าจะเป็นการเดิน การเขียนหนังสือ การกระโดดโลดเต้น การขับรถ การช็อปปิ๊ง ร่างกายล้วนต้องการพลังงาน
          ไขมันช่วยในการดูดซึมสารอาหารจำเป็นเช่นวิตามินที่ละลายใน ไขมัน ได้แก่ วิตามินเอ ดี อี และเค นอกจากนี้ ไขมัน ทำหน้าที่ปกป้องอวัยวะภายในของเราจากการกระทบกระแทก เช่น ตับ ไต หัวใจ ล้วนต้องการไขมันหุ้มเอาไว้ไม่ให้เป็นอันตรายจากการเคลื่อนไหวของตัวเรา ไขมันยังเป็นวัตถุดิบในการสร้างฮอร์โมนสำคัญ ๆ ในร่างกาย
กรดไขมันอิ่มตัว
          กรดไขมันอิ่มตัว คือ ไขมันที่เป็นไขมันเต็มตัว คือ ธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจน และอ๊อกซิเจนจับกันเป็นลูกโซ่โดย สมบูรณ์ และไม่มีช่องว่างเหลือที่จะทำปฏิกิริยากับสารใด ๆ ในร่างกาย พบมากในพวกไขมันสัตว์ เช่น เนื้อหมู เนื้อวัว และไขมันจากกะทิ มะพร้าว เนย และไข่แดง
กรดไขมันไม่อิ่มตัว
          กรดไขมันไม่อิ่มตัว ก็คือ ไขมัน ที่ธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจน และอ๊อกซิเจน จับกันยังไม่สมบูรณ์ ยังมีช่องว่างในลูกโซ่ เหลืออยู่ และพร้อมจะเปลี่ยนแปรสภาพเป็นสารอื่น ๆ ได้ พบมากในน้ำมัปลาซัลมอนด์ น้ำมันเมล็ดพันธ์บอเรจ น้ำมัน อิฟนิ่งพริมโรส น้ำมันจมูกข้าวสาลี
กรดไขมันจำเป็น ( Essential Fatty Acids )
          ถ้าพูดถึง กรดไขมันจำเป็น แปลว่าเป็น กรดไขมัน ที่ร่างกายสร้างขึ้นใช้เองไม่ได้ต้องอาศัยการกินเข้าไป นั่นคือ เราต้องกิน กรดไขมัน จำเป็นจากอาหาร เพราะมันมีความจำเป็นต่อร่างกายของเรา กรดไขมัน จำเป็นเป็นส่วนย่อยของ ไขมัน ที่ไม่อิ่มตัว ซึ่งมีประโยชน์และมีความจำเป็นต่อร่างกาย ร่างกายต้องนำมาใช้เพื่อสร้างความสมดุลย์ ความแข็งแรง รวมทั้งการเจริญเติบโตและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของเซลล์ต่าง ๆ
          กรดไขมันจำเป็น พบได้ในอาหารที่เราบริโภคทุกวัน ร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นเองได้ กรดไขมันจำเป็น มีหลาย ชนิด แต่ที่เรามักได้ยินและคุ้นหู และเป็นที่ยอมรับของวิทยาศาสตร์ทั่วโลกว่ามีประโยชน์ต่อร่างกายมากคือ
          - โอเมก้า 3 ( Linolenic หรือ Alpha Linoleic Acid ) น้ำมันปลา ป้องกันการเกิดโรคหัวใจและอัมพาต ลดการอักเสบ ของโรคไขข้อเสื่อมรูมาตอยด์ ลดอาการปวดหัวไมเกรนและปวดประจำเดือน เพิ่มภูมิคุ้มกันร่างกายและลดอาการของ โรคภูมิแพ้
          - โอเมก้า 6 ( Linoleic Acid ) น้ำ มันอีฟนิ่งพริมโรส ป้องกันการเกิดโรคหัวใจ โดยการลดการแข็งตัวของเลือดด้วย การลดการจับกลุ่มของเกล็ดเลือดทำให้หลอดเลือดที่หัวใจเป็นปกติ ลดอัตราการเกิดโรคความดันโลหิตสูง ลดการขยาย ตัวของเซลล์มะเร็ง สามารถช่วยบำรุงตับและใช้ได้ผลดีในผู้ป่วยที่ดื่มสุรา หรือเป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง ป้องกันโรคสมอง เสื่อมหรือโรคอัลไซเมอร์ โดยลดการแข็งตัวของเยื้อหุ้มเม็ดเลือดแดง ทำให้สมองได้รับอ๊อกซิเจนมากขึ้น
          - โอเมก้า 9 ( Oleic Acid ) ช่วย ลดระดับคอเรสตอรอล ในเลือด

โรคหลอดเลือดแดงแข็ง

โรคหลอดเลือดแดงแข็ง
    หลอดเลือดแดง (Artery) เป็นชื่อเรียกรวมหลอดเลือดแดงทั่วร่างกาย ซึ่งคือหลอดเลือดที่นำอาหารและออกซิเจนไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆทั่วร่างกาย โดยทั่วไปหลอดเลือดแดงจะไม่มีชื่อเฉพาะ แต่จะเรียกชื่อตามอวัยวะที่หลอดเลือดแดงหล่อเลี้ยง เช่น หลอดเลือดแดงสมอง หลอดเลือดแดงหัวใจ และหลอดเลือดแดงไต เป็นต้น

แต่ทั้งนี้หลอดเลือดแดงขนาดใหญ่ที่ออกจากหัวใจห้องล่างซ้าย ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของหลอดเลือดแดงทั้งหมด จะมีชื่อเรียกเฉพาะว่า ท่อเลือดแดง หรือ เอออร์ตา (Aorta) โดยเมื่อออกจากหัวใจแล้ว จะมีหลอดเลือดแดงมากมายแตกแขนงออกไปจากท่อเลือดแดง เพื่อหล่อเลี้ยงอวัยวะต่างๆทั่วร่างกาย โดยเรียกชื่อหลอดเลือดแดงแขนงเหล่านี้ตามชื่ออวัยวะที่หล่อเลี้ยงดังได้กล่าวแล้ว
ดังนั้น หลอดเลือดแดงแข็ง จึงหมายถึงหลอดเลือดแดงทั้งหมด รวมถึงท่อเลือดแดง ซึ่งภาษาแพทย์ใช้คำว่า Atherosclerosis และพจนานุกรมศัพท์แพทย์ อังกฤษ-ไทย ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้คำแปลว่า “โรคท่อเลือดแดงและหลอดเลือดแดงแข็ง”“หลอดเลือดแดง”“โรคหลอดเลือดแดงแข็ง” แต่ในบทความนี้ ขอเรียกรวม ท่อเลือดแดง และหลอดเลือดแดงทั้งหมดว่า และขอเรียกชื่อโรคนี้ว่า
หลอดเลือดแดง ที่มักเกิดหลอดเลือดแดงแข็ง มักเกิดเฉพาะหลอดเลือดแดงขนาดใหญ่ และหลอดเลือดแดงขนาดกลางเท่านั้น ไม่ค่อยพบเกิดในหลอดเลือดแดงขนาดเล็กๆ
     หลอดเลือดแดงแข็ง เป็นโรคของผู้ใหญ่ มักพบก่อให้เกิดอาการได้ตั้งแต่ อายุ 40 ปีขึ้นไป ทั้งผู้ชายและผู้หญิงมีโอกาสเกิดโรคได้ใกล้เคียงกัน โดยอุบัติการณ์ของโรคที่แท้จริงยังไม่ทราบ ทั้งนี้เพราะเมื่อเริ่มเกิดโรค ผู้ป่วยมักยังไม่มีอาการ ยกเว้นเฉพาะโรคหลอดเลือดแดงหัวใจแข็ง (โรคหลอดเลือดหัวใจ) ซึ่งมีวิธีการทางการแพทย์ในการตรวจคัดกรองโรค โดยในสหรัฐอเมริกา พบหลอดแดงหัวใจแข็งได้ประมาณ 36% ของประชากรทั้งหมด และประมาณ 20% ของผู้เสียชีวิตทั้งหมด จะเสียชีวิตจากสาเหตุนี้
   หลอดเลือดแดงแข็งเกิดได้อย่างไร?
กลไกการเกิดหลอดเลือดแดงแข็งเกิดจาก มีการบาดเจ็บอักเสบของผนังหลอดเลือดแดง ซึ่งเชื่อว่าอาจเกิดจากภาวะไขมันชนิดไม่ดี (LDL,Low density lipoprotein) ในเลือดสูง ส่งผลให้ผนังหลอดเลือดแดงอักเสบ เกิดกล้ามเนื้อหลอดเลือดเจริญผิดปกติเป็นหย่อมๆ และเซลล์เม็ดเลือดขาวเข้าไปเกาะในตำแหน่งที่อักเสบ ร่วมกับผนังหลอดเลือดแดงตำแหน่งที่อัก เสบมีการเกิดสิ่งที่เรียกว่า แผ่นพลาค หรือ พลาค (Plaque) ซึ่งประกอบด้วยไขมัน แคลเซียม และสารต่างๆในเลือด เช่น เม็ดเลือดขาว ส่งผลให้ผนังหลอดเลือดแข็ง และท่อภายในหลอดเลือดตีบ จึงส่งผลให้เนื้อเยื่อ/อวัยวะ ที่หล่อเลี้ยงด้วยหลอดเลือดผิดปกติเหล่านี้เกิดการขาดเลือด จึงก่ออาการผิดปกติ หรือโรคต่างๆเกิดขึ้นตามมา
หลอดเลือดแดงแข็งมีสาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยงจากอะไร?
สาเหตุที่แท้จริงที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดแข็ง ยังไม่ทราบ แต่พบปัจจัยเสี่ยงได้ดังนี้
ปัจจัยเสี่ยงสำคัญ ได้แก่
การมีไขมันในเลือดสูง โดยเฉพาะไขมันชนิดไม่ดี และการมีไขมันชนิดดี (HDL, High lipoprotein) ในเลือดต่ำ
การสูบบุหรี่ เพราะมีสารพิษก่อให้ผนังหลอดเลือดอักเสบ
โรคความดันโลหิตสูง
โรคเบาหวาน เพราะเป็นสาเหตุของผนังหลอดเลือดอักเสบ
โรคอ้วน น้ำหนักตัวเกิน เพราะมักเป็นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคโรคไขมันในเลือดสูง
ขาดการออกกำลังกาย
กินอาหารไม่มีประโยชน์ โดยเฉพาะ น้ำตาล เค็ม/เกลือโซเดียม และไขมัน
สูงอายุ ในผู้ชายตั้งแต่อายุ 45 ปีขึ้นไป ในผู้หญิงอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป (วัยหมดประจำเดือน)
พันธุกรรม โดยมีประวัติครอบครัวสายตรงเป็นโรคนี้ตั้งแต่อายุยังน้อย กล่าวคือ บิดาหรือพี่น้องผู้ชาย เป็นโรคนี้ก่อนอายุ 55 ปี มารดาหรือพี่น้องผู้หญิง เป็นโรคนี้ก่อนอายุ 65 ปี
ปัจจัยเสี่ยงที่ตรวจพบได้ในเลือด ได้แก่
มีโปรตีนชนิด CRP (C-reactive protein,โปรตีนที่เกิดจากการอักเสบของเซลล์ในร่างกาย) ในเลือดสูง
มีไขมันชนิดไตรกลีเซรายด์ (Triglyceride) ในเลือดสูง
ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆที่ลดความสำคัญลงมา ได้แก่
โรคนอนหลับแล้วหยุดหายใจ
อารมณ์ จิตใจ เช่น ความเครียด
การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
เพศชาย และเพศหญิงวัยหมดประจำเดือน
หลอดเลือดแดงแข็งมีอาการอย่างไร?
เมื่อเริ่มเป็นโรค มักไม่มีอาการ จนกว่าหลอดเลือดจะตีบมากจนอวัยวะนั้นๆขาดเลือด จึงจะเกิดอาการ โดยอาการจะแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละคน ทั้งนี้ขึ้นกับว่าเกิดโรคกับหลอดเลือดแดงของอวัยวะอะไร
อวัยวะที่เมื่อขาดเลือดแล้วจะก่ออาการสำคัญ อาจส่งผลถึงชีวิตและคุณภาพชีวิตได้แก่ สมอง หัวใจ ไต และหลอดเลือดแดงแขน ขา ดังนั้นจึงจะกล่าวถึงเฉพาะอาการที่เกิดจากหลอดเลือดแดงแข็งของอวัยวะเหล่านี้เท่านั้น
อาการจากหลอดเลือดแดงสมองแข็ง จะเกิดจากเนื้อเยื่อสมองขาดเลือด (โรคหลอดเลือดสมองชา ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด พูดไม่ได้ วิงเวียน/เวียนศีรษะ และโคม่า ) โดยอาการที่พบบ่อย เช่น แขน ขาอ่อนแรงทันที ปวดศีรษะมากและทันที สับสน หน้า
อาการจากหลอดเลือดแดงหัวใจแข็ง เป็นอาการจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเจ็บแน่นหน้าอก มักร้าวมายัง คอ กระดูกกราม ไหล่ และแขน โดยเฉพาะด้านซ้าย หายใจลำบาก เหงื่อออกมาก และคล้ายจะเป็นลม ) โดยอาการที่พบได้บ่อย เช่น
อาการจากหลอดเลือดแดงไตแข็ง เกิดจากเนื้อเยื่อไตขาดเลือด อาการพบบ่อย เช่น เหนื่อยง่าย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ บวมเท้า ปัสสาวะผิดปกติ อาจน้ำปัสสาวะมาก หรือน้ำปัสสาวะน้อยก็ได้ ร่วมกับมีความดันโลหิตสูง
อาการจากหลอดเลือดแดงแขน ขา แข็ง เกิดจากเนื้อเยื่อเกี่ยวพันของแขนและขาขาดเลือด อาการพบบ่อย เช่น เป็นตะคริวบ่อย ปวดเมื่อยแขน ขาตลอดเวลา ขนแขน และขาร่วง บาง มือ เท้า เย็น และเมื่อหลอดเลือดตีบมาก มือ เท้า เล็บอาจเขียวคล้ำ
แพทย์วินิจฉัยโรคหลอดเลือดแดงแข็งได้อย่างไร?
แพทย์วินิจฉัยโรคหลอดเลือดแข็ง ได้จาก ประวัติอาการ และปัจจัยเสี่ยงต่างๆดังได้กล่าวแล้วในหัวข้อ สาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยง การตรวจร่างกาย การตรวจเลือด ดูค่าน้ำตาล ไขมันรวม ไข มันชนิดต่างๆ และสารต่างๆในเลือด การตรวจปัสสาวะ การตรวจภาพปอดด้วยเอกซเรย์ การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และการตรวจเฉพาะต่างๆ เช่น การตรวจคลื่นหัวใจขณะออกกำลังกาย (Stress test) การตรวจภาพหลอดเลือด และการทำงานด้วย อัลตราซาวด์ และอาจมีการตรวจอื่นๆเพิ่มเติมทั้งนี้ขึ้นกับความผิดปกติที่แพทย์ตรวจพบและดุลพินิจของแพทย์ เช่น การบันทึก ภาพรังสีหลอดเลือด (Angiogram การตรวจหลอดเลือดด้วยการฉีดสี/สารทึบแสงเข้าไปในหลอดเลือด แล้วเอกซเรย์ภาพหลอดเลือดนั้นๆ)
หลอดเลือดแดงแข็งรุนแรงไหม? มีผลข้างเคียงอย่างไร?
โรคหลอดเลือดแดงแข็งจัดเป็นโรคอันตราย เพราะนำไปสู่การขาดเลือดของเนื้อเยื่อ/อวัยวะต่างๆได้ ซึ่งถ้าเกิดกับอวัยวะสำคัญ ก็เป็นสาเหตุให้เกิดการเสียคุณภาพชีวิต และถึงเสีย ชีวิตได้ เช่น เมื่อเกิดกับหลอดเลือดหัวใจ ก็จะส่งผลให้เกิด โรคหลอดเลือดหัวใจและโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย เมื่อเกิดกับหลอดเลือดสมอง ก็จะส่งผลให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง อัมพฤกษ์ อัมพาต หรือถ้าเกิดกับหลอดเลือดขา ก็จะส่งผลให้ เกิดภาวะขาชา ปวด และ/หรือเกิดแผลเรื้อรังรักษายาก เป็นต้น
ผลข้างเคียงที่เกิดจากโรคหลอดเลือดแดงแข็ง คือ การด้อยประสิทธิภาพ หรือสูญเสียการทำงานของเนื้อเยื่อ/อวัยวะต่างๆที่เกิดหลอดเลือดแดงแข็ง ซึ่งขึ้นกับว่าเป็นหลอดเลือดแดงที่หล่อเลี้ยงอวัยวะใด เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ หรือโรคหลอดเลือดสมอง เป็นต้น นอกจาก นั้น เมื่อเกิดหลอดเลือดแดงแข็ง หลอดเลือดจะขาดการยืดหยุ่น เมื่อมีเลือดไหลเวียนผ่านตลอดเวลา จะส่งผลให้ความดันเลือด/ ความดันโลหิต ดันให้เกิดการโป่งพองของผนังหลอดเลือด เกิดเป็นโรคที่เรียกว่า โรคหลอดเลือดโป่งพอง (Aneurysm) ซึ่งส่งผลให้ผนังหลอดเลือดส่วนนี้ แตกได้ง่าย เกิดภาวะเลือดออกมากจนเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตกะทันหันได้
รักษาหลอดเลือดแดงแข็งได้อย่างไร?
แนวทางการรักษาโรคหลอดเลือดแดงแข็ง คือ การรักษาประคับประคองตามอาการ การรักษาควบคุมโรคที่เป็นสาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยง การป้องกันการเกิดลิ่มเลือด และการขยายหลอดเลือด
การรักษาประคับประคองตามอาการ เช่น การใช้ยาแก้ปวด กรณีมีการปวด
การรักษาควบคุมโรคที่เป็นสาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยง เช่น การรักษาควบคุมโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคอ้วนและน้ำหนักตัวเกิน การปรับพฤติกรรมการใช้ชี วิต และการควบคุมอาหาร (อาหารป้องกันโรคหลอดเลือดแดงแข็ง)
การป้องกันการเกิดลิ่มเลือดซึ่งจะเป็นสาเหตุให้หลอดเลือดอุดตัน คือ การกินยาละลายลิ่มเลือด เช่น ยาในกลุ่ม Fibrinolysis และยาป้องกันการเกิดลิ่มเลือด (ยาต้านการทำงานของเกล็ดเลือด ซึ่งมีหน้าที่ทำให้เลือดแข็งตัว) เช่น แอสไพริน
การขยายหลอดเลือด เช่น การใช้บอลลูน (Balloon) หรือลวดตาข่าย (Stent) หรือการตัดต่อหลอดเลือด (Graft) ซึ่งจะเลือกวิธีการใด ขึ้นกับว่าเป็นหลอดเลือดของอวัยวะใด การตีบตันเกิดในตำแหน่งใดของหลอดเลือด อายุ สุขภาพร่างกายผู้ป่วย และดุลพินิจของแพทย์
ดูแลตนเองอย่างไรเมื่อมีหลอดเลือดแดงแข็ง? ควรพบแพทย์เมื่อไร?
การดูแลตนเอง และการพบแพทย์เมื่อมีหลอดเลือดแดงแข็ง ที่สำคัญที่สุด คือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต และการดูแลในเรื่องอาหาร
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต ได้แก่
เลิกบุหรี่ ไม่สูบบุหรี่
ออกกำลังกายสม่ำเสมอตามควรกับสุขภาพ เคลื่อนไหวร่างกายเสมอ
จำกัดสุรา เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ผู้ชายวันละไม่เกิน 2 ดริงค์ (Drink) ผู้หญิงวันละไม่เกิน 1 ดริงค์
มีอารมณ์ จิตใจ เบิกบาน แจ่มใส เข้าใจชีวิต ยอมรับความจริง ลดความเครียด
การดูแลในเรื่องอาหาร ได้แก่ กินอาหารมีประโยชน์ 5 หมู่ให้ครบทุกวัน โดยจำกัดอา หารไขมัน แป้ง (กินแป้งจากธัญพืชที่ไม่ขัดสี) น้ำตาล และอาหารเค็ม/เกลือโซเดียม รวมทั้งจำ กัดเนื้อสัตว์ประเภทเนื้อแดง (เนื้อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) แต่กินผัก ผลไม้มากขึ้น รวมทั้งในทุกมื้ออาหารและเป็นอาหารว่าง (อาหารป้องกันโรคหลอดเลือดแดงแข็ง)
การดูแลตนเองในด้านอื่นๆ ได้แก่
รักษาควบคุมโรคที่เป็นสาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยง เช่น โรคไขมันในเลือดสูง โรคความดันโลหิตสูง และ โรคเบาหวาน
ควบคุมน้ำหนัก และลดน้ำหนักเมื่อเป็นโรคอ้วนหรือมีน้ำหนักตัวเกิน ด้วยการควบ คุมอาหาร และการออกกำลังกาย และ/หรือตามคำแนะนำของแพทย์ พยาบาล
การพบแพทย์ ควรมีการตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อดูการทำงานของหัวใจ ความดันโลหิต ระดับน้ำตาล ไขมันในเลือด และการทำงานของไต เพื่อคัดกรองความผิดปกติต่างๆ เพื่อการควบคุมรักษาแต่เนิ่นๆ
ส่วนเมื่อตรวจพบว่ามีโรคหลอดเลือดแดงแข็งแล้ว การดูแลตนเอง คือ การปฏิบัติตามแพทย์ พยาบาลผู้ให้การรักษาแนะนำ และควรพบแพทย์ตามนัดเสมอ โดยพบแพทย์ก่อนนัดถ้ามีอาการต่างๆผิดปกติไปจากเดิม หรือมีอาการต่างๆเลวลง นอกจากนั้น คือ การป้องกัน รักษา ควบคุมโรคที่เป็นสาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยง
ป้องกันหลอดเลือดแดงแข็งได้อย่างไร?สามารถป้องกัน และชะลอการแข็งตัวของหลอดเลือดแดงได้โดย
 



หลีกเลี่ยงสาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวแล้วในหัวข้อ สาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยง เช่น การสูบบุหรี่ และโรคอ้วน
ปรับพฤติกรรมการกินอาหาร เช่น กินอาหารมีประโยชน์ 5 หมู่ให้ครบทุกวัน และจำ กัดปริมาณอาหาร ไม่ให้เกิดโรคอ้วนหรือน้ำหนักตัวเกิน (อาหารป้องกันโรคหลอดเลือดแดงแข็ง)
ถ้าอ้วนหรือน้ำหนักตัวเกิน ควรต้องพยายามลดน้ำหนัก และควบคุมน้ำหนัก โดยการควบคุมอาหารและการออกกำลังกาย
ออกกำลังกายสม่ำเสมอทุกวันตามควรกับสุขภาพ เคลื่อนไหวร่างกายเสมอ
เลิกบุหรี่ ไม่สูบบุหรี่ และจำกัดการดื่มสุราดังกล่าวแล้วในหัวข้อการดูแลตนเอง
รักษาสุขภาพจิต มีสุขภาพจิตที่ดี ควบคุมอารมณ์ให้ได้
รักษาควบคุมโรคที่เป็นสาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยง
ตรวจสุขภาพประจำปี (การตรวจสุขภาพ) เพื่อการคัดกรองโรคสำคัญต่างๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจ โรคไตเรื้อรัง เป็นต้น เพื่อการป้องกัน รักษาควบคุมแต่เนิ่นๆ

วันศุกร์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

แคลอรี่-พลังงานที่ได้รับจากอาหาร

พลังงานที่ได้รับจากอาหาร

ใน 1 วันนั้นคนเราจะรับประทานอาหารวันละ 2200 กิโลแคลอรี่ โดยที่น้ำหนักตัวของคนเรานั้น
1 กิโลกรัม จะคิดเป็น 7700 กิโลแคลอรี่ สมมุติว่าถ้าเราจะลดนำหนักสัปดาห์ละ 1 กิโลกรัมหรือ 7700
กิโลแคลอรี่แล้ว ใน 1 วัน เราควรจะรับประทานอาหารลดลง 1100 กิโลแคลอรี่ (7 วันจะลดได้ 7700
กิโลแคลอรี่)เพราะฉะนั้นใน 1 วัน ควรจะรับประทานอาหาร 2200-1100 = 1100 กิโลแคลอรี่
BMR (Basal Metabolism Rate)
BMR คือ ค่าพลังงานที่ร่างกายต้องการขณะพัก หรือ ขณะที่ไม่ได้มีกิจกรรมใดใด
มีสูตรคำนวณ ดังนี้
BMR (kcal) = น้ำหนัก(กิโลกรัม) x 0.9 x 24
เมื่อหาค่า BMR ได้แล้ว งั้น มาต่อกันเลยค่ะ สมมติว่าได้ค่า BMR มาแล้ว คือ 1100 kcal. เราจะต้องบวกเพิ่มอีกประมาณ 300-400 kcal. เพราะ เรายังต้องมีกิจกรรมระหว่างวันอีก เช่น เดิน วิ่ง ขึ้นบันได เป็นต้น
สรุปว่าเราต้องการพลังงานทั้งหมดต่อวันคือ 1500 kcal. ดังนั้นอาหารที่เราต้องได้รับต่อวันต้องมี พลังงานหรือ แคลอรี่ 1500 ห้ามเกิน เพราะส่วนเกิน จะถูกสะสมในรูปของไขมัน
นักโภชนาการมือสมัครเล่นเริ่มจาก การเลือกเมนูอาหารกันล่วงหน้าเลยว่าวันพรุ่งนี้เราจะกิน อะไรกันดี ทั้งมื้อเช้า มื้อเที่ยง และมื้อเย็นจากการวิจัยพบว่า หากเราสามารถควบคุมแคลอรี่ให้น้อยกว่าที่ร่างกายต้องการต่อวันลง 500 แคลอรี่เราจะสามารถ ลดน้ำหนักได้อาทิตย์ละ 0.5 กก.รู้กันแล้วก็รีบบริหารแคลอรี่กันได้เลย



อาหารจานเดียว
อาหาร
น้ำหนัก (กรัม)
                    แคลอรี่









ข้าวมันไก่
230
459
ข้าวหมูแดง
213
254
ข้าวผัดปูใส่ไข่
218
377
ขนมจีนน้ำยา
136
130
ขนมจีนน้ำพริก
210
292
ราดหน้า
211
214
ผัดซีอิ๊ว
218
425
ผัดไทย
218
411
บะหมี่หมูแดง
213
231
เส้นหมี่ลูกชิ้นเนื้อสด
323
187
สุกี้ยากี้น้ำ
250
221
กระเพาะปลา
238
138



อาหารว่าง
อาหาร
จำนวน
แคลอรี่
สาคูไส้หมู
6 ลูก
168
กุยช่าย
3 อัน
159
ทอดมัน
5 ชิ้น
185
ก๋วยเตี๋ยวหลอด
2 อัน
100
กะหรี่พัฟ
1 ตัว
156
ข้าวต้มผัด
1 มัด
197
มันฝรั่งทอด
10 ชิ้น
155
แฮมเบอร์เกอร์
1 อัน
283
บะหมี่สำเร็จรูป
1 ห่อ
237
กล้วยแขก
5 ชิ้น
253
ของหวาน
อาหาร
จำนวน
แคลอรี่
กล้วยไข่เชื่อม
3 ผล
265
กล้วยบวดชี
1 ถ้วย
129
บัวลอย
1 ถ้วย
211
ลอดช่อง
1 ถ้วย
166
วุ้นกะทิ
1 อัน
166
ทองหยิบ
1 ดอก
142
สังขยา
1 ชิ้น
142

ดัชนีมวลกาย


ดัชนีมวลกาย BMI [body mass index]
      การวัดปริมาณไขมันในร่างกายเป็นเรื่องที่ต้องใช้เครื่องมือในการวัด จึงใช้ดัชนีมวลกายมาวัด ค่าที่ได้มีความแม่นยำพอสมควรและสัมพันธ์กับปริมาณไขมันในร่างกาย วิธีวัดก็สะดวก


การคำนวณดัชนีมวลกาย
ดัชนีมวลกาย =น้ำหนัก(กก)                     ส่วนสูง(ม)²
ตัวอย่างการคำนวณ
ส่วนสูง 170ซม.น้ำหนัก 85 กก.
  1. น้ำหนักตั้ง   85 กก.
  2. ส่วนสูง*ส่านสูง = 1.70*1.70=2.89
  3. ดัชนีมวลกาย= 85/2.89=29.41 กก/ตารางเมตร
BMI สามารถวัดได้ง่ายโดยวัดส่วนสูงและน้ำหนักและคำนวณตามตาราง หรืออาจจะหาดัชนีมวลกายได้จากตารางโดยใช้น้ำหนักและส่วนสูงค่านี้จะมีความสัมพันธ์กับปริมาณไขมันในร่างกาย หรือจากการคำนวณคลิที่นี่ ข้อระวัง BMI ใช้ประเมินปริมาณไขมันในผู้ที่มีกล้ามมากๆไม่ได้ และประเมินในผู้ที่กล้ามเนื้อลีบจากสูงอายุไม่ได้ จากค่าดัชนีมวลกาย ท่านสามารถใช้ตารางข้างล่างประเมินความรุนแรงหรือระดับของความอ้วน

ตารางแสดงความสัมพันธ์ระหว่างดัชนีมวลกาย ระดับความอ้วน และภาวะเสี่ยงสำหรับประเทศทางยุโรป (WHO 1998)


 
เส้นรอบเอว

BMI
กก/ตารางเมตร
Obesity class
ระดับความอ้วน
ภาวะเสี่ยงต่อโรค
ชาย<40นิ้ว
หญิง<35นิ้ว
ชาย>40 นิ้ว
หญิง>35 นิ้ว
น้ำหนักน้อย
<18.5

ต่ำ
---
---
น้ำหนักปกติ
18.5-24.9

เท่าคนปกติ
---
---
น้ำหนักเกิน
25-29.9

เพิ่ม
เพิ่ม
สูง
โรคอ้วน
30-34.9
35-39.9
1
2
เพิ่มปานกลาง
เพิ่มมาก
สูง
สูงมาก
สูงมาก
สูงมาก
อ้วนมาก
>40
3
อยู่ในช่วงอันตราย
สูงมากๆๆ
สูงมากๆๆ
ภาวะเสี่ยงต่อโรคหมายถึงภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานชนิดที่สอง ความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจและหลอดเลือด ไขมันในเลือดสูง 
ผู้ป่วยที่มีเส้นรอบเอวมากแม้ว่า BMI จะปกติก็มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเช่นกัน
จะเห็นได้ว่าท่านที่มีดัชนีมวลกายตั้ง25 ขึ้นไปโดยเฉพาะมีเส้นรอบเอวมากว่า 40นิ้วในชาย 35 นิ้วในหญิงจะต้องเริ่มรักษาอย่างจริงจัง
สำหรับชาวเอเชียไม่สามารถใช้ตัวเลขดังกล่าวได้เนื่องจากผลของการวิจัยพบว่าหากดัชนีมวลกายมากกว่า 23 กก/ตารางเมตร ไม่ว่าจะเป็นหญิงหรือชาย จะเกิดอุบัติการณ์ของโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูงดังนั้นจึงกำหนดว่า หากดัชนีมวลกายมากกว่า 23 จะถือว่าอ้วน นอกจากนั้นการวัดเส้นรอบเอวก็ไม่สามารถใช้มาตรฐานของฝรั่งเนื่องจากโครงสร้างต่างกัน จึงมีการวิจัยพบว่าเส้นรอบเอวที่เหมาะสมสำหรับคนเอเซียคือ 90 ซม.สำหรับผู้ชาย 80 ซม.สำหรับผู้หญิงดังตารางที่แสดง
ตารางแสดงความสัมพันธ์ระหว่างดัชนีมวลกาย ระดับความอ้วน และภาวะเสี่ยงสำหรับประเทศทางเอเชีย


 
เส้นรอบเอว

BMI
กก/ตารางเมตร
Obesity class
ระดับความอ้วน
ภาวะเสี่ยงต่อโรค
ชาย<90 ซม.
หญิง<80 ซม.
ชาย>90 ซม
หญิง>80 ซม.
น้ำหนักน้อย
<18.5

ต่ำ
---
---
น้ำหนักปกติ
18.5-22.9

เท่าคนปกติ
---
---
น้ำหนักเกิน
 23-24.9

เพิ่ม
เพิ่ม
สูง
โรคอ้วน
25-29.9
1
เพิ่มมาก
สูง
สูงมาก
อ้วนมาก
>30
2
อยู่ในช่วงอันตราย
สูงมากๆๆ
สูงมากๆๆ
วัดเส้นรอบเอว Waist circumference
ค่ารอบเอวที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรค
สำหรับคนเอเซีย
  • ชาย >40 นิ้วหรือ 102ซม.
  • หญิง > 35 นิ้วหรือ 88 ซม.
  • ชาย >90 ซม
  • ญิง > 80 ซม.
การวัดเส้นรอบเอวจะมีความสัมพันธ์กับปริมาณไขมันในอวัยวะภายในช่องท้อง หากมีไขมันช่องท้องมากจะพบว่ามีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมากกว่าไขมันที่อยู่ตามแขนหรือขา ผู้ที่มีดัชนีมวลกายเกินแต่เส้นรอบเอวไม่เกินกลุ่มนี้มีความเสี่ยงต่อโรคไม่มาก
วิธีการวัดเส้นรอบเอว
การวัดต้องวัดท่ายืน เท้าแยกจากกัน 25-30 ซม.วัดรอบเอวระดับกึ่งกลางกระดูกสะโพกส่วนบนสุดและขอบล่างของกระดูกซี่โครงให้ขนานกับพื้นผู้วัดต้องนั่งข้างๆ และต้องวัดขณะหายใจออกเท่านั้น ส่วนสะโพกให้วัดบริเวณส่วนที่ก้นยื่นออกมามากที่สุด
หลังที่คุณผู้อ่านได้ค่า ดัชนีมวลกาย BMI  และเส้นรอบเอว Waist circumference หลังจากที่คุณทราบระดับดัชนีมวลกายและเส้นรอบวงเอวแล้วคุณอยากทราบหรือยังว่าจะต้องรักษาหรือไม่ ขี้คร้านคำนวนใช้เครื่องมือคลิกที่นี่