วันเสาร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

กรดไขมันจำเป็น ( Essential Fatty Acids )


กรดไขมันจำเป็น ( Essential Fatty Acids )
            ไขมันเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตก็ว่าได้ เซลล์ของเราทุกเซลล์มี ไขมัน เป็นโครงสร้าง เยื่อหุ้มเซลล์ก็คือ ไขมัน 2 ชึ้นที่มาประกบกันอยู่ ถ้าขาดไขมันเสียเซลล์ก็จะไม่เป็นเซลล์ เมื่อไม่มีเซลล์ก็ไม่มีตัวเรา พูดให้ง่ายก็คือ ไม่มีไขมันก็ไม่มีชีวิตปราศจากโครงสร้างขั้นพื้นฐานที่สุดของชีวิต
          ไขมันเป็นกลุ่มอาหารที่ให้พลังงานสูง ไขมันปริมาณเท่ากับคาร์โบไฮเดรตและโปรตีน จะให้พลังงาน มากกว่าถึง 2 เท่า อาหารประเภทแป่ง น้ำตาล และโปรตีน 1 กรัมให้พลังงาน 4 แคลอรี่ แต่ไขมัน 1 กรัมให้พลังงานถึง 9 แคลอรี่ การดำเนินชีวิตประจำวันย่อมต้องการพลังงาน ไม่ว่าจะเป็นการเดิน การเขียนหนังสือ การกระโดดโลดเต้น การขับรถ การช็อปปิ๊ง ร่างกายล้วนต้องการพลังงาน
          ไขมันช่วยในการดูดซึมสารอาหารจำเป็นเช่นวิตามินที่ละลายใน ไขมัน ได้แก่ วิตามินเอ ดี อี และเค นอกจากนี้ ไขมัน ทำหน้าที่ปกป้องอวัยวะภายในของเราจากการกระทบกระแทก เช่น ตับ ไต หัวใจ ล้วนต้องการไขมันหุ้มเอาไว้ไม่ให้เป็นอันตรายจากการเคลื่อนไหวของตัวเรา ไขมันยังเป็นวัตถุดิบในการสร้างฮอร์โมนสำคัญ ๆ ในร่างกาย
กรดไขมันอิ่มตัว
          กรดไขมันอิ่มตัว คือ ไขมันที่เป็นไขมันเต็มตัว คือ ธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจน และอ๊อกซิเจนจับกันเป็นลูกโซ่โดย สมบูรณ์ และไม่มีช่องว่างเหลือที่จะทำปฏิกิริยากับสารใด ๆ ในร่างกาย พบมากในพวกไขมันสัตว์ เช่น เนื้อหมู เนื้อวัว และไขมันจากกะทิ มะพร้าว เนย และไข่แดง
กรดไขมันไม่อิ่มตัว
          กรดไขมันไม่อิ่มตัว ก็คือ ไขมัน ที่ธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจน และอ๊อกซิเจน จับกันยังไม่สมบูรณ์ ยังมีช่องว่างในลูกโซ่ เหลืออยู่ และพร้อมจะเปลี่ยนแปรสภาพเป็นสารอื่น ๆ ได้ พบมากในน้ำมัปลาซัลมอนด์ น้ำมันเมล็ดพันธ์บอเรจ น้ำมัน อิฟนิ่งพริมโรส น้ำมันจมูกข้าวสาลี
กรดไขมันจำเป็น ( Essential Fatty Acids )
          ถ้าพูดถึง กรดไขมันจำเป็น แปลว่าเป็น กรดไขมัน ที่ร่างกายสร้างขึ้นใช้เองไม่ได้ต้องอาศัยการกินเข้าไป นั่นคือ เราต้องกิน กรดไขมัน จำเป็นจากอาหาร เพราะมันมีความจำเป็นต่อร่างกายของเรา กรดไขมัน จำเป็นเป็นส่วนย่อยของ ไขมัน ที่ไม่อิ่มตัว ซึ่งมีประโยชน์และมีความจำเป็นต่อร่างกาย ร่างกายต้องนำมาใช้เพื่อสร้างความสมดุลย์ ความแข็งแรง รวมทั้งการเจริญเติบโตและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของเซลล์ต่าง ๆ
          กรดไขมันจำเป็น พบได้ในอาหารที่เราบริโภคทุกวัน ร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นเองได้ กรดไขมันจำเป็น มีหลาย ชนิด แต่ที่เรามักได้ยินและคุ้นหู และเป็นที่ยอมรับของวิทยาศาสตร์ทั่วโลกว่ามีประโยชน์ต่อร่างกายมากคือ
          - โอเมก้า 3 ( Linolenic หรือ Alpha Linoleic Acid ) น้ำมันปลา ป้องกันการเกิดโรคหัวใจและอัมพาต ลดการอักเสบ ของโรคไขข้อเสื่อมรูมาตอยด์ ลดอาการปวดหัวไมเกรนและปวดประจำเดือน เพิ่มภูมิคุ้มกันร่างกายและลดอาการของ โรคภูมิแพ้
          - โอเมก้า 6 ( Linoleic Acid ) น้ำ มันอีฟนิ่งพริมโรส ป้องกันการเกิดโรคหัวใจ โดยการลดการแข็งตัวของเลือดด้วย การลดการจับกลุ่มของเกล็ดเลือดทำให้หลอดเลือดที่หัวใจเป็นปกติ ลดอัตราการเกิดโรคความดันโลหิตสูง ลดการขยาย ตัวของเซลล์มะเร็ง สามารถช่วยบำรุงตับและใช้ได้ผลดีในผู้ป่วยที่ดื่มสุรา หรือเป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง ป้องกันโรคสมอง เสื่อมหรือโรคอัลไซเมอร์ โดยลดการแข็งตัวของเยื้อหุ้มเม็ดเลือดแดง ทำให้สมองได้รับอ๊อกซิเจนมากขึ้น
          - โอเมก้า 9 ( Oleic Acid ) ช่วย ลดระดับคอเรสตอรอล ในเลือด

โรคหลอดเลือดแดงแข็ง

โรคหลอดเลือดแดงแข็ง
    หลอดเลือดแดง (Artery) เป็นชื่อเรียกรวมหลอดเลือดแดงทั่วร่างกาย ซึ่งคือหลอดเลือดที่นำอาหารและออกซิเจนไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆทั่วร่างกาย โดยทั่วไปหลอดเลือดแดงจะไม่มีชื่อเฉพาะ แต่จะเรียกชื่อตามอวัยวะที่หลอดเลือดแดงหล่อเลี้ยง เช่น หลอดเลือดแดงสมอง หลอดเลือดแดงหัวใจ และหลอดเลือดแดงไต เป็นต้น

แต่ทั้งนี้หลอดเลือดแดงขนาดใหญ่ที่ออกจากหัวใจห้องล่างซ้าย ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของหลอดเลือดแดงทั้งหมด จะมีชื่อเรียกเฉพาะว่า ท่อเลือดแดง หรือ เอออร์ตา (Aorta) โดยเมื่อออกจากหัวใจแล้ว จะมีหลอดเลือดแดงมากมายแตกแขนงออกไปจากท่อเลือดแดง เพื่อหล่อเลี้ยงอวัยวะต่างๆทั่วร่างกาย โดยเรียกชื่อหลอดเลือดแดงแขนงเหล่านี้ตามชื่ออวัยวะที่หล่อเลี้ยงดังได้กล่าวแล้ว
ดังนั้น หลอดเลือดแดงแข็ง จึงหมายถึงหลอดเลือดแดงทั้งหมด รวมถึงท่อเลือดแดง ซึ่งภาษาแพทย์ใช้คำว่า Atherosclerosis และพจนานุกรมศัพท์แพทย์ อังกฤษ-ไทย ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้คำแปลว่า “โรคท่อเลือดแดงและหลอดเลือดแดงแข็ง”“หลอดเลือดแดง”“โรคหลอดเลือดแดงแข็ง” แต่ในบทความนี้ ขอเรียกรวม ท่อเลือดแดง และหลอดเลือดแดงทั้งหมดว่า และขอเรียกชื่อโรคนี้ว่า
หลอดเลือดแดง ที่มักเกิดหลอดเลือดแดงแข็ง มักเกิดเฉพาะหลอดเลือดแดงขนาดใหญ่ และหลอดเลือดแดงขนาดกลางเท่านั้น ไม่ค่อยพบเกิดในหลอดเลือดแดงขนาดเล็กๆ
     หลอดเลือดแดงแข็ง เป็นโรคของผู้ใหญ่ มักพบก่อให้เกิดอาการได้ตั้งแต่ อายุ 40 ปีขึ้นไป ทั้งผู้ชายและผู้หญิงมีโอกาสเกิดโรคได้ใกล้เคียงกัน โดยอุบัติการณ์ของโรคที่แท้จริงยังไม่ทราบ ทั้งนี้เพราะเมื่อเริ่มเกิดโรค ผู้ป่วยมักยังไม่มีอาการ ยกเว้นเฉพาะโรคหลอดเลือดแดงหัวใจแข็ง (โรคหลอดเลือดหัวใจ) ซึ่งมีวิธีการทางการแพทย์ในการตรวจคัดกรองโรค โดยในสหรัฐอเมริกา พบหลอดแดงหัวใจแข็งได้ประมาณ 36% ของประชากรทั้งหมด และประมาณ 20% ของผู้เสียชีวิตทั้งหมด จะเสียชีวิตจากสาเหตุนี้
   หลอดเลือดแดงแข็งเกิดได้อย่างไร?
กลไกการเกิดหลอดเลือดแดงแข็งเกิดจาก มีการบาดเจ็บอักเสบของผนังหลอดเลือดแดง ซึ่งเชื่อว่าอาจเกิดจากภาวะไขมันชนิดไม่ดี (LDL,Low density lipoprotein) ในเลือดสูง ส่งผลให้ผนังหลอดเลือดแดงอักเสบ เกิดกล้ามเนื้อหลอดเลือดเจริญผิดปกติเป็นหย่อมๆ และเซลล์เม็ดเลือดขาวเข้าไปเกาะในตำแหน่งที่อักเสบ ร่วมกับผนังหลอดเลือดแดงตำแหน่งที่อัก เสบมีการเกิดสิ่งที่เรียกว่า แผ่นพลาค หรือ พลาค (Plaque) ซึ่งประกอบด้วยไขมัน แคลเซียม และสารต่างๆในเลือด เช่น เม็ดเลือดขาว ส่งผลให้ผนังหลอดเลือดแข็ง และท่อภายในหลอดเลือดตีบ จึงส่งผลให้เนื้อเยื่อ/อวัยวะ ที่หล่อเลี้ยงด้วยหลอดเลือดผิดปกติเหล่านี้เกิดการขาดเลือด จึงก่ออาการผิดปกติ หรือโรคต่างๆเกิดขึ้นตามมา
หลอดเลือดแดงแข็งมีสาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยงจากอะไร?
สาเหตุที่แท้จริงที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดแข็ง ยังไม่ทราบ แต่พบปัจจัยเสี่ยงได้ดังนี้
ปัจจัยเสี่ยงสำคัญ ได้แก่
การมีไขมันในเลือดสูง โดยเฉพาะไขมันชนิดไม่ดี และการมีไขมันชนิดดี (HDL, High lipoprotein) ในเลือดต่ำ
การสูบบุหรี่ เพราะมีสารพิษก่อให้ผนังหลอดเลือดอักเสบ
โรคความดันโลหิตสูง
โรคเบาหวาน เพราะเป็นสาเหตุของผนังหลอดเลือดอักเสบ
โรคอ้วน น้ำหนักตัวเกิน เพราะมักเป็นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคโรคไขมันในเลือดสูง
ขาดการออกกำลังกาย
กินอาหารไม่มีประโยชน์ โดยเฉพาะ น้ำตาล เค็ม/เกลือโซเดียม และไขมัน
สูงอายุ ในผู้ชายตั้งแต่อายุ 45 ปีขึ้นไป ในผู้หญิงอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป (วัยหมดประจำเดือน)
พันธุกรรม โดยมีประวัติครอบครัวสายตรงเป็นโรคนี้ตั้งแต่อายุยังน้อย กล่าวคือ บิดาหรือพี่น้องผู้ชาย เป็นโรคนี้ก่อนอายุ 55 ปี มารดาหรือพี่น้องผู้หญิง เป็นโรคนี้ก่อนอายุ 65 ปี
ปัจจัยเสี่ยงที่ตรวจพบได้ในเลือด ได้แก่
มีโปรตีนชนิด CRP (C-reactive protein,โปรตีนที่เกิดจากการอักเสบของเซลล์ในร่างกาย) ในเลือดสูง
มีไขมันชนิดไตรกลีเซรายด์ (Triglyceride) ในเลือดสูง
ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆที่ลดความสำคัญลงมา ได้แก่
โรคนอนหลับแล้วหยุดหายใจ
อารมณ์ จิตใจ เช่น ความเครียด
การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
เพศชาย และเพศหญิงวัยหมดประจำเดือน
หลอดเลือดแดงแข็งมีอาการอย่างไร?
เมื่อเริ่มเป็นโรค มักไม่มีอาการ จนกว่าหลอดเลือดจะตีบมากจนอวัยวะนั้นๆขาดเลือด จึงจะเกิดอาการ โดยอาการจะแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละคน ทั้งนี้ขึ้นกับว่าเกิดโรคกับหลอดเลือดแดงของอวัยวะอะไร
อวัยวะที่เมื่อขาดเลือดแล้วจะก่ออาการสำคัญ อาจส่งผลถึงชีวิตและคุณภาพชีวิตได้แก่ สมอง หัวใจ ไต และหลอดเลือดแดงแขน ขา ดังนั้นจึงจะกล่าวถึงเฉพาะอาการที่เกิดจากหลอดเลือดแดงแข็งของอวัยวะเหล่านี้เท่านั้น
อาการจากหลอดเลือดแดงสมองแข็ง จะเกิดจากเนื้อเยื่อสมองขาดเลือด (โรคหลอดเลือดสมองชา ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด พูดไม่ได้ วิงเวียน/เวียนศีรษะ และโคม่า ) โดยอาการที่พบบ่อย เช่น แขน ขาอ่อนแรงทันที ปวดศีรษะมากและทันที สับสน หน้า
อาการจากหลอดเลือดแดงหัวใจแข็ง เป็นอาการจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเจ็บแน่นหน้าอก มักร้าวมายัง คอ กระดูกกราม ไหล่ และแขน โดยเฉพาะด้านซ้าย หายใจลำบาก เหงื่อออกมาก และคล้ายจะเป็นลม ) โดยอาการที่พบได้บ่อย เช่น
อาการจากหลอดเลือดแดงไตแข็ง เกิดจากเนื้อเยื่อไตขาดเลือด อาการพบบ่อย เช่น เหนื่อยง่าย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ บวมเท้า ปัสสาวะผิดปกติ อาจน้ำปัสสาวะมาก หรือน้ำปัสสาวะน้อยก็ได้ ร่วมกับมีความดันโลหิตสูง
อาการจากหลอดเลือดแดงแขน ขา แข็ง เกิดจากเนื้อเยื่อเกี่ยวพันของแขนและขาขาดเลือด อาการพบบ่อย เช่น เป็นตะคริวบ่อย ปวดเมื่อยแขน ขาตลอดเวลา ขนแขน และขาร่วง บาง มือ เท้า เย็น และเมื่อหลอดเลือดตีบมาก มือ เท้า เล็บอาจเขียวคล้ำ
แพทย์วินิจฉัยโรคหลอดเลือดแดงแข็งได้อย่างไร?
แพทย์วินิจฉัยโรคหลอดเลือดแข็ง ได้จาก ประวัติอาการ และปัจจัยเสี่ยงต่างๆดังได้กล่าวแล้วในหัวข้อ สาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยง การตรวจร่างกาย การตรวจเลือด ดูค่าน้ำตาล ไขมันรวม ไข มันชนิดต่างๆ และสารต่างๆในเลือด การตรวจปัสสาวะ การตรวจภาพปอดด้วยเอกซเรย์ การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และการตรวจเฉพาะต่างๆ เช่น การตรวจคลื่นหัวใจขณะออกกำลังกาย (Stress test) การตรวจภาพหลอดเลือด และการทำงานด้วย อัลตราซาวด์ และอาจมีการตรวจอื่นๆเพิ่มเติมทั้งนี้ขึ้นกับความผิดปกติที่แพทย์ตรวจพบและดุลพินิจของแพทย์ เช่น การบันทึก ภาพรังสีหลอดเลือด (Angiogram การตรวจหลอดเลือดด้วยการฉีดสี/สารทึบแสงเข้าไปในหลอดเลือด แล้วเอกซเรย์ภาพหลอดเลือดนั้นๆ)
หลอดเลือดแดงแข็งรุนแรงไหม? มีผลข้างเคียงอย่างไร?
โรคหลอดเลือดแดงแข็งจัดเป็นโรคอันตราย เพราะนำไปสู่การขาดเลือดของเนื้อเยื่อ/อวัยวะต่างๆได้ ซึ่งถ้าเกิดกับอวัยวะสำคัญ ก็เป็นสาเหตุให้เกิดการเสียคุณภาพชีวิต และถึงเสีย ชีวิตได้ เช่น เมื่อเกิดกับหลอดเลือดหัวใจ ก็จะส่งผลให้เกิด โรคหลอดเลือดหัวใจและโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย เมื่อเกิดกับหลอดเลือดสมอง ก็จะส่งผลให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง อัมพฤกษ์ อัมพาต หรือถ้าเกิดกับหลอดเลือดขา ก็จะส่งผลให้ เกิดภาวะขาชา ปวด และ/หรือเกิดแผลเรื้อรังรักษายาก เป็นต้น
ผลข้างเคียงที่เกิดจากโรคหลอดเลือดแดงแข็ง คือ การด้อยประสิทธิภาพ หรือสูญเสียการทำงานของเนื้อเยื่อ/อวัยวะต่างๆที่เกิดหลอดเลือดแดงแข็ง ซึ่งขึ้นกับว่าเป็นหลอดเลือดแดงที่หล่อเลี้ยงอวัยวะใด เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ หรือโรคหลอดเลือดสมอง เป็นต้น นอกจาก นั้น เมื่อเกิดหลอดเลือดแดงแข็ง หลอดเลือดจะขาดการยืดหยุ่น เมื่อมีเลือดไหลเวียนผ่านตลอดเวลา จะส่งผลให้ความดันเลือด/ ความดันโลหิต ดันให้เกิดการโป่งพองของผนังหลอดเลือด เกิดเป็นโรคที่เรียกว่า โรคหลอดเลือดโป่งพอง (Aneurysm) ซึ่งส่งผลให้ผนังหลอดเลือดส่วนนี้ แตกได้ง่าย เกิดภาวะเลือดออกมากจนเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตกะทันหันได้
รักษาหลอดเลือดแดงแข็งได้อย่างไร?
แนวทางการรักษาโรคหลอดเลือดแดงแข็ง คือ การรักษาประคับประคองตามอาการ การรักษาควบคุมโรคที่เป็นสาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยง การป้องกันการเกิดลิ่มเลือด และการขยายหลอดเลือด
การรักษาประคับประคองตามอาการ เช่น การใช้ยาแก้ปวด กรณีมีการปวด
การรักษาควบคุมโรคที่เป็นสาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยง เช่น การรักษาควบคุมโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคอ้วนและน้ำหนักตัวเกิน การปรับพฤติกรรมการใช้ชี วิต และการควบคุมอาหาร (อาหารป้องกันโรคหลอดเลือดแดงแข็ง)
การป้องกันการเกิดลิ่มเลือดซึ่งจะเป็นสาเหตุให้หลอดเลือดอุดตัน คือ การกินยาละลายลิ่มเลือด เช่น ยาในกลุ่ม Fibrinolysis และยาป้องกันการเกิดลิ่มเลือด (ยาต้านการทำงานของเกล็ดเลือด ซึ่งมีหน้าที่ทำให้เลือดแข็งตัว) เช่น แอสไพริน
การขยายหลอดเลือด เช่น การใช้บอลลูน (Balloon) หรือลวดตาข่าย (Stent) หรือการตัดต่อหลอดเลือด (Graft) ซึ่งจะเลือกวิธีการใด ขึ้นกับว่าเป็นหลอดเลือดของอวัยวะใด การตีบตันเกิดในตำแหน่งใดของหลอดเลือด อายุ สุขภาพร่างกายผู้ป่วย และดุลพินิจของแพทย์
ดูแลตนเองอย่างไรเมื่อมีหลอดเลือดแดงแข็ง? ควรพบแพทย์เมื่อไร?
การดูแลตนเอง และการพบแพทย์เมื่อมีหลอดเลือดแดงแข็ง ที่สำคัญที่สุด คือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต และการดูแลในเรื่องอาหาร
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต ได้แก่
เลิกบุหรี่ ไม่สูบบุหรี่
ออกกำลังกายสม่ำเสมอตามควรกับสุขภาพ เคลื่อนไหวร่างกายเสมอ
จำกัดสุรา เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ผู้ชายวันละไม่เกิน 2 ดริงค์ (Drink) ผู้หญิงวันละไม่เกิน 1 ดริงค์
มีอารมณ์ จิตใจ เบิกบาน แจ่มใส เข้าใจชีวิต ยอมรับความจริง ลดความเครียด
การดูแลในเรื่องอาหาร ได้แก่ กินอาหารมีประโยชน์ 5 หมู่ให้ครบทุกวัน โดยจำกัดอา หารไขมัน แป้ง (กินแป้งจากธัญพืชที่ไม่ขัดสี) น้ำตาล และอาหารเค็ม/เกลือโซเดียม รวมทั้งจำ กัดเนื้อสัตว์ประเภทเนื้อแดง (เนื้อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) แต่กินผัก ผลไม้มากขึ้น รวมทั้งในทุกมื้ออาหารและเป็นอาหารว่าง (อาหารป้องกันโรคหลอดเลือดแดงแข็ง)
การดูแลตนเองในด้านอื่นๆ ได้แก่
รักษาควบคุมโรคที่เป็นสาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยง เช่น โรคไขมันในเลือดสูง โรคความดันโลหิตสูง และ โรคเบาหวาน
ควบคุมน้ำหนัก และลดน้ำหนักเมื่อเป็นโรคอ้วนหรือมีน้ำหนักตัวเกิน ด้วยการควบ คุมอาหาร และการออกกำลังกาย และ/หรือตามคำแนะนำของแพทย์ พยาบาล
การพบแพทย์ ควรมีการตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อดูการทำงานของหัวใจ ความดันโลหิต ระดับน้ำตาล ไขมันในเลือด และการทำงานของไต เพื่อคัดกรองความผิดปกติต่างๆ เพื่อการควบคุมรักษาแต่เนิ่นๆ
ส่วนเมื่อตรวจพบว่ามีโรคหลอดเลือดแดงแข็งแล้ว การดูแลตนเอง คือ การปฏิบัติตามแพทย์ พยาบาลผู้ให้การรักษาแนะนำ และควรพบแพทย์ตามนัดเสมอ โดยพบแพทย์ก่อนนัดถ้ามีอาการต่างๆผิดปกติไปจากเดิม หรือมีอาการต่างๆเลวลง นอกจากนั้น คือ การป้องกัน รักษา ควบคุมโรคที่เป็นสาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยง
ป้องกันหลอดเลือดแดงแข็งได้อย่างไร?สามารถป้องกัน และชะลอการแข็งตัวของหลอดเลือดแดงได้โดย
 



หลีกเลี่ยงสาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวแล้วในหัวข้อ สาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยง เช่น การสูบบุหรี่ และโรคอ้วน
ปรับพฤติกรรมการกินอาหาร เช่น กินอาหารมีประโยชน์ 5 หมู่ให้ครบทุกวัน และจำ กัดปริมาณอาหาร ไม่ให้เกิดโรคอ้วนหรือน้ำหนักตัวเกิน (อาหารป้องกันโรคหลอดเลือดแดงแข็ง)
ถ้าอ้วนหรือน้ำหนักตัวเกิน ควรต้องพยายามลดน้ำหนัก และควบคุมน้ำหนัก โดยการควบคุมอาหารและการออกกำลังกาย
ออกกำลังกายสม่ำเสมอทุกวันตามควรกับสุขภาพ เคลื่อนไหวร่างกายเสมอ
เลิกบุหรี่ ไม่สูบบุหรี่ และจำกัดการดื่มสุราดังกล่าวแล้วในหัวข้อการดูแลตนเอง
รักษาสุขภาพจิต มีสุขภาพจิตที่ดี ควบคุมอารมณ์ให้ได้
รักษาควบคุมโรคที่เป็นสาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยง
ตรวจสุขภาพประจำปี (การตรวจสุขภาพ) เพื่อการคัดกรองโรคสำคัญต่างๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจ โรคไตเรื้อรัง เป็นต้น เพื่อการป้องกัน รักษาควบคุมแต่เนิ่นๆ

วันศุกร์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

แคลอรี่-พลังงานที่ได้รับจากอาหาร

พลังงานที่ได้รับจากอาหาร

ใน 1 วันนั้นคนเราจะรับประทานอาหารวันละ 2200 กิโลแคลอรี่ โดยที่น้ำหนักตัวของคนเรานั้น
1 กิโลกรัม จะคิดเป็น 7700 กิโลแคลอรี่ สมมุติว่าถ้าเราจะลดนำหนักสัปดาห์ละ 1 กิโลกรัมหรือ 7700
กิโลแคลอรี่แล้ว ใน 1 วัน เราควรจะรับประทานอาหารลดลง 1100 กิโลแคลอรี่ (7 วันจะลดได้ 7700
กิโลแคลอรี่)เพราะฉะนั้นใน 1 วัน ควรจะรับประทานอาหาร 2200-1100 = 1100 กิโลแคลอรี่
BMR (Basal Metabolism Rate)
BMR คือ ค่าพลังงานที่ร่างกายต้องการขณะพัก หรือ ขณะที่ไม่ได้มีกิจกรรมใดใด
มีสูตรคำนวณ ดังนี้
BMR (kcal) = น้ำหนัก(กิโลกรัม) x 0.9 x 24
เมื่อหาค่า BMR ได้แล้ว งั้น มาต่อกันเลยค่ะ สมมติว่าได้ค่า BMR มาแล้ว คือ 1100 kcal. เราจะต้องบวกเพิ่มอีกประมาณ 300-400 kcal. เพราะ เรายังต้องมีกิจกรรมระหว่างวันอีก เช่น เดิน วิ่ง ขึ้นบันได เป็นต้น
สรุปว่าเราต้องการพลังงานทั้งหมดต่อวันคือ 1500 kcal. ดังนั้นอาหารที่เราต้องได้รับต่อวันต้องมี พลังงานหรือ แคลอรี่ 1500 ห้ามเกิน เพราะส่วนเกิน จะถูกสะสมในรูปของไขมัน
นักโภชนาการมือสมัครเล่นเริ่มจาก การเลือกเมนูอาหารกันล่วงหน้าเลยว่าวันพรุ่งนี้เราจะกิน อะไรกันดี ทั้งมื้อเช้า มื้อเที่ยง และมื้อเย็นจากการวิจัยพบว่า หากเราสามารถควบคุมแคลอรี่ให้น้อยกว่าที่ร่างกายต้องการต่อวันลง 500 แคลอรี่เราจะสามารถ ลดน้ำหนักได้อาทิตย์ละ 0.5 กก.รู้กันแล้วก็รีบบริหารแคลอรี่กันได้เลย



อาหารจานเดียว
อาหาร
น้ำหนัก (กรัม)
                    แคลอรี่









ข้าวมันไก่
230
459
ข้าวหมูแดง
213
254
ข้าวผัดปูใส่ไข่
218
377
ขนมจีนน้ำยา
136
130
ขนมจีนน้ำพริก
210
292
ราดหน้า
211
214
ผัดซีอิ๊ว
218
425
ผัดไทย
218
411
บะหมี่หมูแดง
213
231
เส้นหมี่ลูกชิ้นเนื้อสด
323
187
สุกี้ยากี้น้ำ
250
221
กระเพาะปลา
238
138



อาหารว่าง
อาหาร
จำนวน
แคลอรี่
สาคูไส้หมู
6 ลูก
168
กุยช่าย
3 อัน
159
ทอดมัน
5 ชิ้น
185
ก๋วยเตี๋ยวหลอด
2 อัน
100
กะหรี่พัฟ
1 ตัว
156
ข้าวต้มผัด
1 มัด
197
มันฝรั่งทอด
10 ชิ้น
155
แฮมเบอร์เกอร์
1 อัน
283
บะหมี่สำเร็จรูป
1 ห่อ
237
กล้วยแขก
5 ชิ้น
253
ของหวาน
อาหาร
จำนวน
แคลอรี่
กล้วยไข่เชื่อม
3 ผล
265
กล้วยบวดชี
1 ถ้วย
129
บัวลอย
1 ถ้วย
211
ลอดช่อง
1 ถ้วย
166
วุ้นกะทิ
1 อัน
166
ทองหยิบ
1 ดอก
142
สังขยา
1 ชิ้น
142

ดัชนีมวลกาย


ดัชนีมวลกาย BMI [body mass index]
      การวัดปริมาณไขมันในร่างกายเป็นเรื่องที่ต้องใช้เครื่องมือในการวัด จึงใช้ดัชนีมวลกายมาวัด ค่าที่ได้มีความแม่นยำพอสมควรและสัมพันธ์กับปริมาณไขมันในร่างกาย วิธีวัดก็สะดวก


การคำนวณดัชนีมวลกาย
ดัชนีมวลกาย =น้ำหนัก(กก)                     ส่วนสูง(ม)²
ตัวอย่างการคำนวณ
ส่วนสูง 170ซม.น้ำหนัก 85 กก.
  1. น้ำหนักตั้ง   85 กก.
  2. ส่วนสูง*ส่านสูง = 1.70*1.70=2.89
  3. ดัชนีมวลกาย= 85/2.89=29.41 กก/ตารางเมตร
BMI สามารถวัดได้ง่ายโดยวัดส่วนสูงและน้ำหนักและคำนวณตามตาราง หรืออาจจะหาดัชนีมวลกายได้จากตารางโดยใช้น้ำหนักและส่วนสูงค่านี้จะมีความสัมพันธ์กับปริมาณไขมันในร่างกาย หรือจากการคำนวณคลิที่นี่ ข้อระวัง BMI ใช้ประเมินปริมาณไขมันในผู้ที่มีกล้ามมากๆไม่ได้ และประเมินในผู้ที่กล้ามเนื้อลีบจากสูงอายุไม่ได้ จากค่าดัชนีมวลกาย ท่านสามารถใช้ตารางข้างล่างประเมินความรุนแรงหรือระดับของความอ้วน

ตารางแสดงความสัมพันธ์ระหว่างดัชนีมวลกาย ระดับความอ้วน และภาวะเสี่ยงสำหรับประเทศทางยุโรป (WHO 1998)


 
เส้นรอบเอว

BMI
กก/ตารางเมตร
Obesity class
ระดับความอ้วน
ภาวะเสี่ยงต่อโรค
ชาย<40นิ้ว
หญิง<35นิ้ว
ชาย>40 นิ้ว
หญิง>35 นิ้ว
น้ำหนักน้อย
<18.5

ต่ำ
---
---
น้ำหนักปกติ
18.5-24.9

เท่าคนปกติ
---
---
น้ำหนักเกิน
25-29.9

เพิ่ม
เพิ่ม
สูง
โรคอ้วน
30-34.9
35-39.9
1
2
เพิ่มปานกลาง
เพิ่มมาก
สูง
สูงมาก
สูงมาก
สูงมาก
อ้วนมาก
>40
3
อยู่ในช่วงอันตราย
สูงมากๆๆ
สูงมากๆๆ
ภาวะเสี่ยงต่อโรคหมายถึงภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานชนิดที่สอง ความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจและหลอดเลือด ไขมันในเลือดสูง 
ผู้ป่วยที่มีเส้นรอบเอวมากแม้ว่า BMI จะปกติก็มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเช่นกัน
จะเห็นได้ว่าท่านที่มีดัชนีมวลกายตั้ง25 ขึ้นไปโดยเฉพาะมีเส้นรอบเอวมากว่า 40นิ้วในชาย 35 นิ้วในหญิงจะต้องเริ่มรักษาอย่างจริงจัง
สำหรับชาวเอเชียไม่สามารถใช้ตัวเลขดังกล่าวได้เนื่องจากผลของการวิจัยพบว่าหากดัชนีมวลกายมากกว่า 23 กก/ตารางเมตร ไม่ว่าจะเป็นหญิงหรือชาย จะเกิดอุบัติการณ์ของโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูงดังนั้นจึงกำหนดว่า หากดัชนีมวลกายมากกว่า 23 จะถือว่าอ้วน นอกจากนั้นการวัดเส้นรอบเอวก็ไม่สามารถใช้มาตรฐานของฝรั่งเนื่องจากโครงสร้างต่างกัน จึงมีการวิจัยพบว่าเส้นรอบเอวที่เหมาะสมสำหรับคนเอเซียคือ 90 ซม.สำหรับผู้ชาย 80 ซม.สำหรับผู้หญิงดังตารางที่แสดง
ตารางแสดงความสัมพันธ์ระหว่างดัชนีมวลกาย ระดับความอ้วน และภาวะเสี่ยงสำหรับประเทศทางเอเชีย


 
เส้นรอบเอว

BMI
กก/ตารางเมตร
Obesity class
ระดับความอ้วน
ภาวะเสี่ยงต่อโรค
ชาย<90 ซม.
หญิง<80 ซม.
ชาย>90 ซม
หญิง>80 ซม.
น้ำหนักน้อย
<18.5

ต่ำ
---
---
น้ำหนักปกติ
18.5-22.9

เท่าคนปกติ
---
---
น้ำหนักเกิน
 23-24.9

เพิ่ม
เพิ่ม
สูง
โรคอ้วน
25-29.9
1
เพิ่มมาก
สูง
สูงมาก
อ้วนมาก
>30
2
อยู่ในช่วงอันตราย
สูงมากๆๆ
สูงมากๆๆ
วัดเส้นรอบเอว Waist circumference
ค่ารอบเอวที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรค
สำหรับคนเอเซีย
  • ชาย >40 นิ้วหรือ 102ซม.
  • หญิง > 35 นิ้วหรือ 88 ซม.
  • ชาย >90 ซม
  • ญิง > 80 ซม.
การวัดเส้นรอบเอวจะมีความสัมพันธ์กับปริมาณไขมันในอวัยวะภายในช่องท้อง หากมีไขมันช่องท้องมากจะพบว่ามีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมากกว่าไขมันที่อยู่ตามแขนหรือขา ผู้ที่มีดัชนีมวลกายเกินแต่เส้นรอบเอวไม่เกินกลุ่มนี้มีความเสี่ยงต่อโรคไม่มาก
วิธีการวัดเส้นรอบเอว
การวัดต้องวัดท่ายืน เท้าแยกจากกัน 25-30 ซม.วัดรอบเอวระดับกึ่งกลางกระดูกสะโพกส่วนบนสุดและขอบล่างของกระดูกซี่โครงให้ขนานกับพื้นผู้วัดต้องนั่งข้างๆ และต้องวัดขณะหายใจออกเท่านั้น ส่วนสะโพกให้วัดบริเวณส่วนที่ก้นยื่นออกมามากที่สุด
หลังที่คุณผู้อ่านได้ค่า ดัชนีมวลกาย BMI  และเส้นรอบเอว Waist circumference หลังจากที่คุณทราบระดับดัชนีมวลกายและเส้นรอบวงเอวแล้วคุณอยากทราบหรือยังว่าจะต้องรักษาหรือไม่ ขี้คร้านคำนวนใช้เครื่องมือคลิกที่นี่

วันพฤหัสบดีที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

แอลกอฮอล์ทำให้ตับแข็ง


   แอลกอฮอล์ทำให้ตับแข็งได้อย่างไร
   ตับถือเป็นอวัยวะที่เสี่ยงต่อพิษภัยของแอลกอฮอล์อย่างมาก ระยะเวลาและปริมาณของแอลกอฮอล์ที่ดื่มเข้าไปมีผลโดยตรงต่อตับ


ยิ่งถ้าดื่มนานต่อเนื่องเป็นเวลามากกว่า  ๑๐ ปี ขึ้นไป ยิ่งมีโอกาสที่ตับจะเกิดปัญหาจากแอลกอฮอล์ได้ แม้กระนั้นก็ตาม ในบางรายอาจใช้เวลาไม่ถึง ๑๐ ปี
หากปริมาณที่บริโภคนั้นค่อนข้างสูง โดยทั่วไปแอลกอฮอล์จะทำให้เกิดอันตรายต่อตับในผู้หญิงได้ง่ายกว่าในผู้ชาย แม้จะดื่มในปริมาณที่น้อยกว่าก็ตาม ซึ่งอาจเกิดจากปัจจัยทางด้านฮอร์โมนบางชนิด
โรคตับที่เกิดจากผลของแอลกอฮอล์ แบ่งได้เป็น ๓ ประเภท คือ โรคไขมันสะสมในตับจากแอลกอฮอล์ โรคตับอักเสบจากแอลกอฮอล์ และโรคตับแข็ง
โรคไขมันสะสมในตับจากแอลกอฮอล์
          ภาวะนี้พบได้เป็นส่วนใหญ่ในผู้ที่ดื่มจัด แต่ถ้าหยุดดื่มแล้วจะสามารถกลับคืนสู่ภาวะปกติได้ ภาวะนี้เกิดจากความผิดปกติของการเผาผลาญ และการสร้างไขมัน อันเป็นผลมาจากแอลกอฮอล์ทำให้เกิดการสะสมของไขมันในเซลล์ตับ ทำให้เซลล์บวม ตับโต บางครั้งอาจมีอาการกดเจ็บร่วมด้วย โดยทั่วไปภาวะนี้มักไม่ค่อยแสดงอาการให้เห็น ทำให้เป็นผลเสียต่อผู้นั้น เนื่องจาก ไม่มีสัญญาณคอยบ่งเตือนว่า ร่างกายกำลังมีปัญหา ทั้งๆที่ความผิดปกติกำลังดำเนินอยู่ แต่ถ้าเกิดภาวะนี้อย่างรุนแรงก็จะมีอาการ ตัวเหลือง ตาเหลือง ที่เรียกว่า ดีซ่าน ท้อง บวมน้ำ และบวมตามแขนขาร่วมด้วยได้  ผู้ที่เกิดภาวะนี้อาจยังไม่รุนแรงถึงขั้นกลาย เป็นโรคตับแข็ง ซึ่งต่างจากผู้ที่เป็นโรคตับ อักเสบจากแอลกอฮอล์ ที่มีความเสี่ยงสูงมาก ที่จะกลายเป็นโรคตับแข็งในที่สุด
โรคตับอักเสบจากแอลกอฮอล์
          แอลกอฮอล์ทำให้เกิดการอักเสบของเซลล์ตับ ทำให้เกิดการเสื่อมและการตายของเซลล์ การซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของเซลล์ต่างๆเหล่านี้ มีผลทำให้โครงสร้างของเซลล์ตับผิดรูปร่าง ซึ่งเป็นสาเหตุอย่างหนึ่งที่นำไปสู่โรคตับแข็ง อาการของผู้ที่เป็นโรคตับอักเสบนี้จะแตกต่างกันไป ตั้งแต่ไม่มีอาการ มีอาการในระดับน้อย จนถึงอาการรุนแรงจนกระทั่งเสียชีวิตได้ โดยทั่วไปแล้วอาการมักประกอบด้วยปวดเมื่อยตามตัว เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน น้ำหนักลด อึดอัดในท้อง และตัวเหลืองตาเหลือง บางรายมีไข้สูงร่วมด้วย เมื่อตรวจร่างกายมักจะพบว่ามีตับโตและ กดเจ็บ ประมาณ ๑ ใน ๓ จะพบม้ามโต ในรายที่เป็นรุนแรงจะพบภาวะท้องบวมน้ำ เลือดออก แขนขาบวม และมีอาการสับสนเนื่องจากสมองร่วมด้วยได้ ถึงแม้ว่าเมื่อหยุดบริโภคแอลกอฮอล์ไปแล้ว จะทำให้อาการตัวเหลืองตาเหลือง ท้องบวมน้ำ หรือภาวะสับสนดีขึ้นก็ตาม แต่หากยังบริโภคแอลกอฮอล์ต่อไปอีก ก็จะนำไปสู่การอักเสบของ ตับต่อไปได้เรื่อยๆ  ในบางรายกว่าจะฟื้นตัว จากการอักเสบต้องใช้เวลานานมากประมาณ ๖ เดือน หรือมากกว่า ภาวะนี้จัดได้ว่าเป็นภาวะเบื้องต้นที่นำไปสู่การเกิดตับแข็งในโอกาสต่อไป
โรคตับแข็ง
          ถ้าการบริโภคแอลกอฮอล์ยังเป็นไปอย่างต่อเนื่อง เซลล์ตับจะมีการถูกทำลายมากขึ้น ในที่สุด ตับจะฝ่อ เกิดภาวะ ที่เรียกว่า ตับแข็ง ส่วนใหญ่แล้วใช้เวลานานประมาณ ๑๐ ปี ผู้ที่ เกิดภาวะนี้จะมีอาการเบื่ออาหารผ่ายผอม ลักษณะแบบคนขาดอาหาร อ่อนเพลีย เลือดออกง่าย เกิดรอยช้ำตามตัวได้ง่าย เมื่อเกิดภาวะตับแข็ง จะทำให้การไหลเวียนของโลหิตในตับเป็นไปด้วยความลำบาก ทำให้ความดันในหลอดเลือด สูงขึ้น เกิดเส้นเลือดโป่งพอง อาจเป็นในบริเวณหลอดอาหาร ซึ่งเสี่ยงต่อการอาเจียนออกมาเป็นเลือด นอกจากนี้ ยังทำให้เกิดภาวะน้ำในช่องท้องมากขึ้น ท้องจะบวมน้ำ โดยปกติแล้วตับจะทำหน้าที่กำจัดของเสียในร่างกาย เมื่อ เกิดภาวะตับแข็ง จะทำให้ตับทำหน้าที่นี้ได้ไม่ดี ผลที่ตามมาก็คือ ภาวะตับวาย และการทำงานของสมองสับสนได้ ถึงแม้ว่าโรคตับแข็งจะเป็นโรค ที่มีการดำเนินโรคอย่าง ต่อเนื่องก็ตาม แต่หากได้รับการรักษาที่เหมาะสม ร่วมไปกับการหยุดดื่มแอลกอฮอล์โดยเด็ดขาด  อาจทำให้การดำเนินของโรคหยุดลงได้ ส่งผลให้สภาพการทำงานของร่างกายที่ดีขึ้น

น้ำตาลในเลือด

น้ำตาลในกระแสเลือด

     อาหารที่รับประทานเข้าไปส่วนใหญ่จะเปลี่ยนเป็นน้ำตาลกลูโคสในกระแสเลือดเพื่อใช้เป็นพลังงาน ในคนปกติตับอ่อนจะสร้างฮอร์โมนอินซูลินเพื่อเป็นตัวนำน้ำตาลกลูโคสเข้าเซลล์เพื่อใช้เป็นพลังงาน โรคเบาหวานเป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เกิดเนื่องจากการขาดฮอร์โมนอินซูลิน หรือประสิทธิภาพของอินซูลินลดลง เนื่องจากภาวะดื้อต่ออินซูลิน ทำให้น้ำตาลในเลือดสูงขึ้นอยู่เป็นเวลานานจะเกิดโรคแทรกซ้อนต่ออวัยวะต่าง ๆ เช่น ตา ไต และระบบประสาท
ใครที่ควรจะต้องเจาะเลือดหาโรคเบาหวาน
ผู้ป่วยเบาหวานมักจะวินิจฉัยไม่ได้ในระยะแรก การที่มีภาวะน้ำตาลสูงเป็นเวลานาน ๆ ทำให้เกิดการเสื่อมของอวัยวะต่าง ๆ เช่น ตา หัวใจ ไต เส้นประสาท เส้นเลือด นอกจากนี้ยังพบว่า มีโรคความดันโลหิตสูง ภาวะไขมันในโลหิตสูงร่วมด้วย ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งในการวินิจฉัยให้เร็วที่สุด เพื่อลดภาวะแทรกซ้อน ผู้ที่สมควรได้รับการเจาะเลือดตรวจหาเบาหวานคือ
มีประวัติครอบครัวพ่อแม่ พี่ หรือ น้อง เป็นเบาหวาน ควรจะตรวจเลือดแม้ว่าคุณจะไม่มีอาการ
อ้วน ดัชนีมวลกายมากกว่า 27 kg/m2 หรือน้ำหนักเกิน 20% ของน้ำหนักที่ควรเป็น
อายุมากกว่า 45 ปี
ความดันโลหิตสูงมากกว่า 140/90 mmHg
ระดับไขมันผิดปกติ (HDL น้อยกว่า 40 mg/dl และ หรือ TG มากกว่า 200 mg/dl)
ผู้ที่ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย
บุคคลที่มีปัจจัยเสี่ยงดังกล่าว ควรที่จะได้รับการตรวจหาระดับน้ำตาลในเลือดทุก 3 ปี
   

สามารถเลือกวัดค่า FPG หรือ OGTT 2 hr มาใช้ทดสอบเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ เพื่อใช้ตรวจว่าเป็นเบาหวานหรือไม่ โดยถือว่าให้ผลเท่ากัน ส่วนค่า HbA1C ส่วนใหญ่ใช้ดูประวัติการควบคุมน้ำตาลของผู้เป็นเบาหวาน


ไขมันสะสมคั่งในตับ (NASH)


 ไขมันสะสมคั่งในตับ (NASH)
                โรคไขมันคั่งสะสมในตับ คือภาวะที่มีการสะสมของไขมัน ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในรูปของไตรกลีเซอรายด์ อยู่ในเซลล์ของตับซึ่งอาจมีเพียงแค่ไขมันคั่งอยู่ในเซลล์ตับ หรือมีอาการอักเสบของตับร่วมด้วย โดยทั่วไปแล้วจะมีสาเหตุต่างๆ มากมายที่สามารถทำให้เกิดภาวะไขมันคั่งสะสมในตับได้ สาเหตุที่พบบ่อยคือจากการดื่มสุรา, ยาบางชนิด หรือสารพิษ, ภาวะขาดสารอาหาร, ภาวะทองแดงคั่งในร่างกาย (Wilson’s Disease) เป็นต้น แต่ในที่นี้จะขอกล่าวถึงเฉพาะภาวะไขมันคั่งสะสมในตับ ที่ไม่ได้เกิดการจากดื่มสุรา ซึ่งทางการแพทย์เรียกภาวะนี้ว่า Non-Alcoholic Fatty Liver Disease (NAFLD) แต่ถ้ามีการอักเสบของตับร่วมกับมีการบวมของเซลล์ตับร่วมด้วย ก็จะเรียกภาวะนี้ว่า Non-Alcoholic Steato Hepatitis (NASH)
เซลที่ตับปกติ

เซลที่ตับมีไขมันพอก

 ไขมันคั่งสะสมในตับพบได้บ่อยขนาดไหน
          มีการศึกษาทั้งจากประเทศทางอเมริกาและญี่ปุ่น พบว่ามีประชากรประมาณร้อยละ 10-20 มีภาวะไขมันคั่งสะสมในตับโดยการตรวจด้วยวิธี อัลตราซาวด์ และประมาณร้อยละ 1-3 ของประชากร จะมีการอักเสบของตับ หรือที่เรียกว่า NASH ร่วมด้วย และถ้าดูผู้ป่วยที่มาตรวจด้วยเรื่อง ภาวะตับอักเสบเรื้อรังที่ไม่ได้เกิดจากไวรัสตับอักเสบบี, ซี, การดื่มสุรา, หรือรับประทานยา แล้วพบว่าร้อยละ 60 ของผู้ป่วยจะมีภาวะไขมันคั่งสะสมในตับ ที่อาจเป็นสาเหตุของตับอักเสบเรื้อรัง สำหรับในประเทศไทยยังไม่ได้มีการศึกษาอย่างจริงจังแต่ก็พบว่าภาวะไขมันคั่งสะสมในตับเป็นสาเหตุของตับอักเสบเรื้อรัง ที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยที่มาตรวจเรื่องตับอักเสบเรื้อรัง
 สาเหตุ
          สาเหตุของการเกิดไขมันคั่งสะสมในตับ ที่ไม่ได้เกิดจากการสูบบุหรี่นั้น ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด ในปัจจุบันคิดว่ามีหลายสาเหตุ ความรู้จากการศึกษาในปัจจบันพบว่าภาวะที่ร่างกายดื้อต่ออินซูลินเป็นปัจจัยที่สำคัญของการเกิดภาวะไขมันคั่งสะสมในตับ หลังจากนั้นอาจจะมีปัจจัยหรือกลไกอื่นอีกที่มากระตุ้นให้เกิดการอักเสบและการตายของเซลล์ตับ ซึ่งกลุ่มอาการที่สัมพันธ์ต่อการดื้อต่ออินซูลินนี้เรียกว่า Insulin Resistant Syndrome ซึ่งผู้ป่วยมักจะมีอาการต่อไปนี้ร่วมด้วย คือ
1.  อ้วน ซึ่งมักจะอ้วนที่ลำตัวมากกว่าแขนขา
2.  เป็นเบาหวาน
3.  มีไขมันในเลือดสูง
4.  มีความดันโลหิตสูง
           พบว่าร้อยละ 60 ของผู้ป่วยที่มีไขมันคั่งสะสมในตับ จะมีภาวะดื้อต่ออินซูลินร่วมด้วย อย่างไรก็ตามผู้ป่วยบางรายอาจจะไม่แสดงอาการดื้อต่ออินซูลินให้เห็น ส่วนปัจจัยที่ทำให้เกิดการอักเสบของตับนั้นจะมีได้หลายปัจจัยที่นอกเหนือไปจากภาวะดื้อต่ออินซูลิน เช่น สารพิษ และยาบางชนิด
 อาการและอาการแสดง
            ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะไม่มีอาการ มักจะตรวจพบโดยบังเอิญจากการมาเจาะเลือดเช็คสุขภาพ ในบางรายอาจมีอาการปวดแน่นบริเวณใต้ชายโครงขวา ในบางรายอาจจะมีอาการอ่อนเพลียง่าย เมื่อโรคตับเป็นมากแล้ว ตรวจร่างกายผู้ป่วยมักจะพบว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติยกเว้นอาจจะพบว่าผู้ป่วยอาจจะอ้วน ซึ่งมักจะเป็นอ้วนแบบลงพุง และในกรณีผู้ป่วยที่มีตับแข็งแล้วก็อาจตรวจเจอลักษณะของโรคตับเรื้อรังหรือตับแข็งร่วมด้วย การเจาะเลือดดูการทำงานของตับอาจจะพบค่า AST กับค่า ALT สูงกว่าปกติประมาณ 1.5 เท่า ถึง 4 เท่า อาจจะมีค่าALP สูงขึ้นเล็กน้อยส่วนค่าอื่นๆ มักจะอยู่ในเกณฑ์ปกติ
ภาวะไขมันคั่งสะสมในตับมีอันตรายหรือไม่
           ภาวะไขมันคั่งสะสมในตับอาจแบ่งได้เป็น 4 ชนิด โดยแบ่งตามพยาธิสภาพของชิ้นเนื้อตับ ดังนี้
ชนิดที่ 1 ชนิดนี้จะมีแต่ไขมันคั่งสะสมในเซลล์ตับอย่างเดียว แต่ไม่มีการอักเสบของตับ ร่วมด้วย
ชนิดที่ 2 ชนิดนี้จะมีไขมันคั่งสะสมในเซลล์ตับ ร่วมกับมีการอักเสบของตับเล็กน้อย
ชนิดที่ 3 ชนิดนี้จะมีไขมันคั่งสะสมในเซลล์ตับ และมีการบวมโตของเซลล์ตับ
ชนิดที่ 4 จะเป็นแบบชนิดที่ 3 แต่มีการตายของกลุ่มเซลล์ตับ และอาจมีผังผืดในตับร่วมด้วย
       ชนิดที่ 1 และ 2 มักจะสบายดี แม้ว่าจะติดตามไปเป็นระยะเวลา 10-20 ปี ก็ยังปกติดีไม่มีอาการของโรคตับเรื้องรังเกิดขึ้น แต่ไขมันคั่งสะสมในตับชนิดที่ 3 และ 4 จะมีการดำเนินโรคจนเกิดตับแข็งได้ถึงร้อยละ 20-28 ในเวลา 10 ปี  ดังนั้น จะว่าแม้ว่าโดยรวมดูเหมือนว่าภาวะไขมันคั่งสะสมในตับไม่รุนแรงแต่ผู้ป่วยที่เป็นชนิดที่ 3 และ 4 จะมีการดำเนินโรคไปเป็นตับแข็งและอาจเสียชีวิตได้   ไม่ต่างจากไวรัสตับอักเสบเรื้องรัง ปัจจุบันข้อมูลยังบ่งชี้ว่า ตับอักเสบเรื้องรังจากภาวะไขมันคั่งสะสมในตับ อาจก่อให้เกิดมะเร็งตับได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยที่มีตับแข็งแล้ว
จะตรวจได้อย่างไรว่ามีไขมันคั่งสะสมในตับ
1. โดยการเจาะเลือดดูการทำงานของตับว่ามีการอักเสบ (ค่า AST, ALT สูงกว่าปกติ) ดูระดับ   น้ำตาล, ระดับไขมันในเลือดว่าสูงกว่าปกติ
2. ตัดสาเหตุที่อาจทำให้เกิดภาวะไขมันคั่งสะสมในตับออกไปก่อน เช่นการดื่มสุรา,  การรับประทานยา, ตับอักเสบจากไวรัสซี, และ Wilson’s Disease เป็นต้น
3. การตรวจอัลตราซาวด์ จะพบว่าตับอาจมีขนาดโตขึ้น และมีลักษณะขาวขึ้นกว่าไตและม้าม
4. ตรวจโดยวิธีเอ็กซ์เรย์ คอมพิวเตอร์ (CT SCAN) หรือเอ็กซ์เรย์ สนามแม่เหล็ก (MRI)
5. เจาะชิ้นเนื้อตับออกมาตรวจทางพยาธิวิทยา
             โดยทั่วไปเรามักจะทำการวินิจฉัยโดยวิธีที่ 3 และ 4 ข้อแรก จะพิจารณาเจาะชิ้นเนื้อตับมาตรวจเฉพาะในรายที่มีการอักเสบของตับร่วมด้วย และไม่ตอบสนองต่อการรักษาเบื้องต้นเพื่อยืนยันการวินิจฉัยโรค และประเมินความรุนแรงของโรคหรือในกรณีที่คิดว่าภาวะอักเสบของตับอาจจะเกิดสาเหตุอื่นร่วมด้วย
จะรักษาไขมันคั่งสะสมในตับอย่างไร
           การรักษาที่สำคัญและได้ประโยชน์มากในผู้ป่วยไขมันคั่งสะสมในตับ คือ การลดน้ำหนัก ในกรณีที่ผู้ป่วยอ้วน ซึ่งควรลดน้ำหนักโดยการควบคุมปริมาณและคุณภาพอาหารกล่าวคือ หลีกเลี่ยงการทานอาหารทีมีไขมันสูง เช่น นม เนย กะทิ ชีส กุ้ง ปูไข่ ไข่แดงและเนื่องจากไตรกลีเซอรายด์เป็นตัวสำคัญที่สะสมคั่งในตับก็ต้องพยายามหลีกเลี่ยงไม่รับประทานอาหารที่มีแป้งและน้ำตาลมากเกินไป ควรลดปริมาณอาหารลงด้วยโดยเฉพาะอย่างยิ่งในมื้อเย็น ที่สำคัญควรมีการออกกำลังการอย่างสม่ำเสมอ เพราะจะเป็นการลดน้ำหนักอย่างถูกสุขภาพ และเป็นการช่วยสลายไขมันออกจากตับได้ดี แต่พึงระวังว่าไม่ควรลดน้ำหนักด้วยวิธีการงดอาหาร และไม่ควรลดน้ำหนักเร็วเกินไป โดยทั่วไป  แนะนำให้ลดน้ำหนักลงประมาณ 1-2 กิโลกรัม / เดือน เพราะการลดน้ำหนักลงอย่างรวดเร็วโดยการงดอาหารอาจก่อให้เกิดตับอักเสบอย่างรุนแรงได้ การลดน้ำหนักนั้นควรลดลงมาอย่างน้อยร้อยละ 15 จากน้ำหนักเริ่มต้นหรือจนน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานรักษาควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นเบาหวานรักษา ควบคุมไขมันให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ในกรณีที่ผู้ป่วยมีไขมันในเลือดสูง หลีกเลี่ยงการรับประทานยาที่ไม่จำเป็น
             ข้อควรระวัง ยาที่ใช้ในการรักษาภาวะไขมันในเลือดสูงหลายตัวนั้นมีผลข้างเคียงทำให้เกิดตับอักเสบเอง จึงควรเริ่มต้นด้วยการควบคุมอาหารและออกกำลังกาย ก่อนจะใช้ยาต่อเมื่อมีข้อบ่งชี้ชัดเจน สำหรับยาที่ใช้ในการรักษาภาวะตับอักเสบเรื้องรังจากไขมันคั่งสะสมในตับ ส่วนใหญ่ยังอยู่ในช่วงของการศึกษาวิจัยแต่ยาที่มีการศึกษาพอควรและมีข้อมูลที่บ่งว่าน่าจะมีประโยชน์ มีดังนี้
1. Ursodexycholic Acid (UDCA) ยากลุ่มนี้มีการศึกษาพบว่า จะช่วยลดภาวะการอักเสบของตับลง และมีการทำงานของตับดีขึ้น ขนาดที่ใช้ในการรักษา คือ 12-15 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน ซึ่งต้องรับประทานระยะยาวเป็นเวลาประมาณ 1 ปี แต่ข้อมูลการศึกษาการรักษาเป็นเวลานาน 2 ปี ไม่แสดงประโยชน์ของการรักษาด้วยยาตัวนี้มากนัก
2. วิตามินอี ซึ่งจัดเป็น Anti-Oxidative Stress อันเป็นกลไกที่สำคัญของการเกิดตับอักเสบและการตายของเซลล์ตับ การศึกษาในเด็กพบว่า วิตามินอีช่วยลดการอักเสบของตับลงได้โดยรับประทานในขนาด 800-1,600 มิลลิกรัม ต่อวัน
3. Silymarin เป็นยาที่สกัดมาจากดอก Milk Thrisle ซึ่งเป็นดอกไม้ประจำชาติของสก๊อตแลนด์ Silymarin ก็มีฤทธิ์เป็น Anti-Oxidative Strees นอกจากนี้ยังมีการศึกษาบ่งว่าอาจช่วยลดภาวะดื้อต่ออินซูลินลง ดังนั้นโดยฤทธิ์ของยาก็น่าจะมีประโยชน์ในการรักษาไขมันคั่งสะสมในตับ โดยออกฤทธิ์ทั้งลดการอักเสบและเพิ่มความไวต่ออินซูลิน
4. ยากลุ่มที่กระตุ้นความไวต่ออินซูลิน เช่น ยากลุ่ม Metformin พบว่าสามารถช่วยลดไขมันที่คั่งสะสมในตับและลดการอักเสบของตับลงได้
              นอกจากนี้ยังมีการศึกษายาตัวใหม่ๆ อีกหลายตัว ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นในกลุ่มที่มีฤทธิ์ Anti-Oxidative Stress กับกลุ่มที่ลดความดื้อต่ออินซูลิน ในประเทศที่มีการผ่าตัดเปลี่ยนตับ ก็มีการรักษาผู้ป่วยไขมันคั่งสะสมในตับ ที่มีตับแข็งรุนแรงหรือตับแข็งระยะสุดท้ายด้วยวธีการผ่าตัดเปลี่ยนตับ
ข้อมูลโดย
รองศาสตราจารย์นายแพทย์ธีระ พิรัชวิสุทธิ์
หน่วยโรคระบบทางเดินอาหารและตับ ภาควิชาอายุรศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สงขลา 90110
ข้อมูลเพิ่มเติม

ภาวะไขมันเกาะตับพบบ่อยแค่ไหน ?
• มีความชุกของโรคไขมันเกาะตับ (NAFLD) สูงถึงร้อยละ 40 ของประชากรทั่วไป
• ไขมันเกาะตับพบได้บ่อยขึ้นในคนบางกลุ่ม เช่น
- คนอ้วนพบถึงร้อยละ 37-90
- ผู้ป่วยเบาหวานพบร้อยละ 50-62
ภาวะไขมันเกาะตับมักมีโรคอื่นที่พบร่วมด้วย• โดยเฉพาะภาวะอ้วนลงพุงหรือเมตาโบลิค ซินโดรม (Metabolic syndrome)• เบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลินพบได้ 1 ใน 3
• ไขมันในเลือดสูงพบได้ 2 ใน 3
• โรคอ้วนใช้เกณฑ์ดัชนีมวลกาย มากกว่า 28 กก./เมตร2
คำนวณโดย
ดัชนีมวลกาย = น้ำหนักตัว (กก.) / ส่วนสูง (เมตร)2 หรือใช้เส้นรอบเอวก็ช่วยบ่งชี้โรคอ้วนได้ โดยดูจากเอวมากกว่า 36 นิ้วในผู้ชาย หรือมากกว่า 32 นิ้วในผู้หญิง
การวินิจฉัยภาวะไขมันเกาะตับ

• มีความผิดปกติของค่าทำงานตับ
• มีประวัติดื่มแอลกอฮอล์น้อยมากคือ น้อยกว่า 20 กรัม/วัน หรือไม่ดื่มเลย และไม่พบสาเหตุอื่นๆของตับอักเสบเช่น ยาสมุนไพร โรคตับจากไวรัส เป็นต้น
• ผลการเจาะตับมีลักษณะพยาธิวิทยาที่พบไขมันแทรกอยู่เกินร้อยละ 5 และ/หรือมีการอักเสบร่วมด้วย
• ผลตรวจอัลตราซาวน์พบว่ามีไขมันเกาะตับ หมายเหตุ แอลกอฮอล์ 10 กรัม/วัน = เบียร์ 350 มล, ไวน์ 120 มล, หรือบรั่นดี 45 มล ซึ่งเรียกว่า 1 ดริ๊ง (drink)

วิธีการวินิจฉัยภาวะไขมันเกาะตับมีอะไรบ้าง
1. การเจาะตับ
2. การตรวจเลือดเพื่อแยกสาเหตุอื่น
3. ตรวจอัลตราซาวน์ตับ
เนื้อตับที่แพทย์เจาะมาช่วยบอกอะไรบ้าง ?• ช่วยบอกความรุนแรงของโรคว่าเนื้อตับมีการอักเสบ มีพังผืดมากน้อยเพียงใด และตับแข็งหรือไม่
ถ้ากลัวหรือกังวล และไม่ต้องการเจาะตับ จะวินิจฉัยโรคนี้ได้หรือไม่? อย่างไร ?วิธีตรวจหาพังผืดในตับแบบใหม่ หรือ ที่เรียกว่าไฟโบรสแกน (FibroScan) ใช้เวลาตรวจสั้นและ ไม่เจ็บ
เมื่อเป็นโรคไขมันเกาะตับ จะมีการดำเนินโรคอย่างไร?1. ผู้ป่วยไขมันเกาะตับที่มีภาวะอักเสบหรือมีพังผืดร่วมด้วย พบว่าร้อยละ 20 หรือ 1 ใน 5 กลายเป็นตับแข็งและร้อยละ 37 เริ่มมีพังผืดในตับ
2. มีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบได้ถึงร้อยละ 10 เมื่อได้รับการวินิจฉัยโรคมานาน 10 ปี
ผู้ป่วยกลุ่มใดที่จะมีการดำเนินโรคไปเป็นตับแข็ง ?โดยทั่วไปใช้เวลา 10 – 20 ปี กว่าจะเกิดตับแข็งและพบได้ 1 ใน 5 ของผู้ป่วย โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีภาวะต่างๆ ซึ่งจะพบว่าเป็นโรคตับแข็งได้เร็วขึ้น
• โรคอ้วน (BMI ยิ่งสูงยิ่งไม่ดี โดยเฉพาะค่า BMI ที่มากกว่า 35 กก./ม2)
• เบาหวาน
• อายุมากกว่า 45 ปี
• ค่าการทำงานตับมีอัตราส่วน AST/ALT มากกว่า 1
จะรักษาโรคไขมันเกาะตับที่มีภาวะอักเสบหรือมีพังผืดร่วมด้วย ได้หรือไม่ ? อย่างไร ?• การรักษาหลักคือมุ่งลดปัจจัยเสี่ยง เช่น เบาหวาน โรคอ้วน ไขมันในเลือดสูงที่พบร่วมด้วยให้ดี
• ควบคุมอาหารที่มีพลังงานสูงเกินความต้องการร่วมกับการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
• ยาที่มีการศึกษาว่าอาจช่วยลดการอักเสบของตับได้ เช่น วิตามินอีขนาดสูง ยาไพโอไกรตาโซน (pioglitazone) พบว่ายังไม่ลดภาวะพังผืดในตับ และจำเป็นต้องติดตาม ผลการรักษาในระยะยาวต่อไป
จะควบคุมหรือลดน้ำหนักให้ได้ผลได้อย่างไร ?• ลดน้ำหนักในอัตรา 2 กก./เดือน หรือลดเฉลี่ยร้อยละ 7-10 ของน้ำหนัก จะทำให้ค่าทำงานตับดีขึ้นทำได้โดยออกกำลังกาย เช่น การวิ่งหรือเดินเร็วหรือเต้นแอโรบิคนาน 30 นาทีจะเผาผลาญแคลอรีได้ประมาณ 130-170 กิโลแคลอรีและต้องทำต่อเนื่อง
• ต้องคุมปริมาณอาหาร น้ำหวาน ควบคู่ไปกับการลดน้ำหนักด้วย ดังตารางปริมาณพลังงานของอาหารจานเดี่ยว**
• ปริมาณแคลอรีที่ควรได้รับในแต่ละวันคิดเป็น 30 กิโลแคลอรี ต่อน้ำหนักตัวมาตรฐาน 1 กก./วัน เช่น ผู้ที่มีน้ำหนัก 60 กก. ควรได้รับพลังงาน 1800 กิโลแคลอรี/วัน
ตัวอย่างอาหารจานเดี่ยวและปริมาณพลังงาน (กิโลแคลอรี) **



รายการปริมาณพลังงาน
กิโลแคลอรี (Kcal)
เส้นหมี่ลูกชิ้นเนื้อวัวน้ำ 447 กรัม226
กระเพาะปลาปรุงสำเร็จ 392 กรัม239
ขนมจีนน้ำยา 435 กรัม332
ก๋วยเตี๋ยวเส้นใหญ่เย็นตาโฟน้ำ 494 กรัม352
ก๋วยเตี๋ยวเส้นใหญ่ราดหน้าหมู 354 กรัม397
ข้าวขาหมู 289 กรัม438
ข้าวแกงเขียวหวานไก่ 318 กรัม483
ก๋วยเตี๋ยวเส้นเล็กแห้งหมู 235 กรัม530
ข้าวหมูแดง 320 กรัม540
ข้าวผัดใบกระเพราไก่ 293 กรัม554
ข้าวผัดหมูใส่ไข่ 315 กรัม557
ก๋วยเตี๋ยวผัดไทยใส่ไข่ 244 กรัม577
ข้าวมันไก่ 300 กรัม596


น้ำดี คืออะไร 
     น้ำดีจะถูกสร้างจากตับ และหลั่งมาตามท่อน้ำดี มาเก็บพักไว้ที่ถุงน้ำดี เพื่อทำให้น้ำดีเข้มข้นขึ้น เมื่ออาหารที่รับประทานผ่านมาถึงลำไส้เล็กส่วนต้นร่างกายจะมีการหลั่งฮอร์โมนไปกระตุ้นให้ถุงน้ำดีบีบตัว และขับน้ำดีให้ไหลลงสู่ท่อน้ำดี ซึ่งจะมีท่อนำน้ำย่อยที่ผลิตจากตับอ่อนไหลมารวมกันก่อน แล้วไหลลงสู่รูเปิดเดียวกันซึ่งมีลักษณะเป็นตุ่มเล็ก ๆ ลักษณะคล้ายหัวนมที่บริเวณลำไส้เล็กส่วนต้น
ปัจจัยที่ทำให้เกิดนิ่วทางเดินน้ำดี มี 3 สาเหตุหลัก ได้แก่ ความอิ่มตัวหรือเข้มข้นของน้ำดี การบีบตัวของถุงน้ำดีลดลง และการติดเชื้อในทางเดินน้ำดี โดยจะพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย และพบได้บ่อยในอายุ 60 ปีขึ้นไป

อาหารที่ควรทาน

ถั่วเป็นพืชมหัศจรรย์หลายอย่าง เช่น มีโปรตีนสูง มีไขมันชนิดดี มีเส้นใยหรือไฟเบอร์ชนิดไม่ละลายน้ำสูง การดูดซึมน้ำตาลจากถั่วเข้าสู่กระแสเลือดช้า ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นอย่างช้าๆ สูงนาน ทำให้อิ่มนาน (ค่าดัชนีน้ำตาล หรือ glycemic index ต่ำ, เหมาะกับท่านที่ต้องการลดความอ้วน ควบคุมน้ำตาล)
นมถั่วเหลืองมีดีตรงที่ไม่มีน้ำตาลแลคโทส ทำให้คนที่ไม่มีน้ำย่อยน้ำตาลนมมากพอ ดื่มนมถั่วเหลืองได้สบายๆ  การศึกษาใหม่จากมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ทำการศึกษาในหนูผอม และหนูอ้วน ผลการศึกษาพบว่า โปรตีนถั่วเหลือง ซึ่งพบมากในเต้าหู้ (tofu), นมถั่วเหลือง น้ำเต้าหู้ มีส่วนช่วยป้องกันไขมันร้ายที่ชอบไปเกาะในเซลล์ตับในหนูอ้วน โดยลดไขมันในตับได้ 20%แถมยังลดระดับไขมันในเลือดชนิดไตรกลีเซอไรด์ (triglycerides / TG) ซึ่งเป็นผู้ช่วยฝ่ายร้าย ที่ทำให้โคเลสเตอรอลฝ่ายร้าย (LDL) แทรกซึมออกจากกระแสเลือด ผ่านผนังหลอดเลือด ไปสะสมเป็นคราบไขใต้ผนังหลอดเลือด ทำให้เกิดการอักเสบ และเพิ่มเสี่ยงหลอดเลือดตีบตัน
โรคไขมันเกาะตับ (fatty liver disease) ทำให้การทำงานของตับแย่ลง เพิ่มเสี่ยงเบาหวาน ตับอักเสบ และตับแข็ง
โรคอ้วน, อ้วนลงพุง (เส้นรอบเอวมากกว่า 90 ซม.ในผู้ชาย, 80 ซม.ในผู้หญิง), ระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงเพิ่มเสี่ยงไขมันเกาะตับ ซึ่งมักจะพบหลังดื่มหนัก หรือกินอาหารมื้อใหญ่ โดยเฉพาะอาหารที่มีแป้ง-น้ำตาลสูง
การศึกษาก่อนหน้านี้จากมหาวิทยาลัยเดลาแวร์ พบว่า การดื่มนมถั่วเหลือง 2 แก้ว/วัน ช่วยลดอาการร้อนวูบวาบ (hot flushes) หลังหมดประจำเดือนได้ 20%, และลดความรุนแรงของโลกได้ 26% อาการร้อนวูบวาบเกิดขึ้นนาน 4 นาทีโดยเฉลี่ย ผู้หญิงบางรายมีอาการเหงื่อแตก และอาจรบกวนการนอนหลับ นับเป็นความทุกข์ใหญ่ของผู้ที่มีอาการนี้
วิธีเลือกนมถั่วเหลืองที่สำคัญ คือ ควรดูฉลากอาหาร
1. น้ำตาลต่ำหรือไม่ > ชนิดเติมน้ำตาลมากไม่ค่อยดี      
2. ไขมันอิ่มตัว > นมถั่วเหลืองมีไขมันถั่วเหลือง ซึ่งมีไขมันอิ่มตัวต่ำ, นมถั่วเหลืองที่มีไขมันอิ่มตัวสูง มักจะเติมครีมเทียมที่ทำจากน้ำมันปาล์ม หรือเติมน้ำมันปาล์ม (ทำให้รสชาติหวานมันเพิ่ม แต่ไม่ดีกับสุขภาพ)      
3. เสริมแคลเซียมหรือไม่ > ชนิดเสริมแคลเซียมมีแนวโน้มจะดีกว่าชนิดไม่เสริม และควรเสริมให้ถึงระดับ 20-25% ของที่ร่างกายต้องการใน 1 วันจึงจะดี

สารอาหารไขมัน

สารอาหารกลุ่มไขมัน
หนึ่งในอาหาร 5 หมู่ ที่ร่างกายของเรามีความจำเป็นต้องการใช้ไขมันเพื่อหุ่มห่อเซลล์และเป็นพลังงาน

ไขมันสามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ 
1. กรดไขมันอิ่มตัว (Saturated Fatty Acids) คือเป็นไขมันเต็มตัวแล้ว คือ ธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจนและออกซิเจนจับกันเป็นลูกโซ่โดยสมบูรณ์ และไม่มีช่องว่างเหลือที่จะทำปฏิกิริยากับสารใดๆ ในร่างกายได้ ดังนั้น ไขมันชนิดนี้จะอยู่ในรูปของแข็งในอุณหภูมิปกติ ไขมันจำพวกนี้จะพบมากใน ไขมันสัตว์ เช่น เนื้อหมู วัว และไขมันจากกะทิ มะพร้าว เนย ไข่แดงและอื่นๆ
2. กรดไขมันไม่อิ่มตัว (Unsaturated Fatty Acids) คือไขมันที่ธาตุ คาร์บอน ไฮโดรเจนและออกซิเจน จับกันยังไม่สมบูรณ์ นั่นคือ ยังมีช่องว่างในลูกโซ่เหลืออยู่ และพร้อมที่จะทำปฏิกิริยาและจับกับสารอื่นๆ ในร่างกายได้และพร้อมจะเปลี่ยนแปรสภาพเป็นสารอื่นๆ ได้ พบมากในน้ำมันปลาแซลมอน น้ำมันเมล็ดพันธุ์บอเรจ น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส น้ำมันจมูกข้าวสาลี และอื่นๆ

ไขมันมีประโยชน์อย่างไร
1. ไขมันเป็นอาหารสำคัญที่มีความจำเป็นต่อร่างกายและเป็น 1 ในอาหาร 5 หมู่ ที่มีประโยชน์ นอกเหนือจากโปรตีน คาร์โบไฮเดรท วิตามินและเกลือแร่
2. ไขมันช่วยในการดูดซึมของวิตามินที่ละลายในไขมัน (Fat soluble Vitamins) เช่น วิตามินเอ วิตามินดี วิตามินอี และวิตามินเค ซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกาย
3. ไขมันให้พลังงานแก่ร่างกายที่สูงที่สุดคือ 9 แคลอรี่ต่อ 1 กรัมของไขมัน ช่วยทำให้ร่างกายมีพลังงานที่จะทำงานและประกอบกิจวัตรประจำวัยได้ตามปกติ
4. ไขมันช่วยปกป้องและกันความร้อน รวมทั้งคอยควบคุมอุณหภูมิของร่างกายให้คงที่ โดยทำหน้าที่เป็นฉนวนกันความร้อน (Thermal Insulator) ของเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังและอวัยวะที่อยู่ภายในร่างกาย
5.ไขมันช่วยเป็นเสมือนกันชนให้ร่างกาย คือช่วยป้องกันการกระเทือนของอวัยวะภายในร่างกาย ที่เกิดจากแรงกระแทกหรือการเคลื่อนไหวอย่างแรงของร่างกาย ซึ่งคอยป้องกันการบาดเจ็บของอวัยวะภายในร่างกาย
6. ไขมันเป็นส่วนประกอบสำคัญของเนื้อเยื่อประสาทนั่นคือ เส้นประสาทของคนเราจะมีไขมันเป็นส่วนประกอบในอัตราที่สูง โดยเฉพาะจะหุ้มเส้นประสาท ช่วยในการป้องกันเส้นประสาทให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อถูกสั่งจากสมองไปยังกล้ามเนื้อและอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย
7. ไขมันเมื่อรวมกับโปรตีนก็คือ ไลโปโปรตีน (Lipoproteins) จะเป็นส่วนประกอบสำคัญของเซลล์ต่างๆ โดยเฉพาะผนังเซลล์และไมโตคอนเดรีย ส่วนนี้มีประโยชน์สำหรับคนเรามาก เพราะร่างกายของเราประกอบเป็นตัวตนด้วยเซลล์หลายๆ ล้านเซลล์ และเซลล์ของร่างกายเรา จะผลิตทุกวันเพื่อซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ นั่นคือ ถ้าขาดไขมัน ผนังเซลล์ของร่างกายเราก็จะอ่อนแอ เซลล์ที่ตายไปก็ไม่สามารถสร้างขึ้นมาใหม่ได้

ค่าปกติของไขมันในเลือดคือ 
- คอเลสเตอรอล (Cholesterol) ประมาณ 150-250 mg/dl
- ไตรกลีเซอไรด์ (Triglycerides) ประมาณ 35-160 mg/dl

ในร่างกายของเรา มีไขมันหลายชนิด ที่สำคัญได้แก่
1.ไขมันโคเลสเตอรอล
เป็นไขมันที่มีประโยชน์ เป็นส่วนประกอบของเซลล์ต่าง ๆ หากมีมากเกินไป ไขมันเหล่านี้จะไปสะสมอยู่ตามผนังหลอดเลือดแดงทั่วร่างกาย เช่น หลอดเลือดสมอง หลอดเลือดหัวใจ หลอดเลือดที่ไต หากมีการตีบตันของหลอดเลือด ก็ทำให้อวัยวะนั้นขาดเลือดไปเลี้ยง เกิดอาการต่าง ๆ ตามมา เช่น อัมพฤกษ์ อัมพาต โรคหัวใจ เรายังอาจแบ่งไขมันโคเลสเตอรอลได้ย่อย ๆ อีก ที่สำคัญ 2 ชนิด คือ
1.1 โคเลสเตอรอล ชนิดร้าย หรือ แอล-ดี-แอล
(Low Density Lipoprotein Cholesterol, LDL-C)
เป็นตัวที่มีบทบาทสำคัญในการสะสมในผนังของหลอดเลือดแดง ไขมันชนิดนี้ร่างกายสร้างขึ้นเองส่วนหนึ่ง และมาจากอาหารที่มีไขมันสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งไขมันสัตว์
1.2 โคเลสเตอรอล ชนิดดี หรือ เอช-ดี-แอล
(High Density Lipoprotein Cholesterol, HDL-C)
ไขมันชนิดนี้จะช่วยในการขนถ่ายโคเลสเตอรอลที่สะสมอยู่ออกมาทำลาย จึงช่วยป้องกันโรคหัวใจหลอดเลือด ดังนั้นหากยิ่งสูงจะยิ่งเป็นดี ไขมันนี้ร่างกายสร้างขึ้นเอง และจะสูงขึ้นในผู้ที่ออกกำลังแบบแอโรบิคอย่างสม่ำเสมอ
2. ไขมันไตรกลีเซอไรด์
เป็นไขมันอีกชนิดหนึ่งที่มาจากอาหารร่วมกับร่างกายสร้างขึ้นที่ตับ ไตรกลีเซอไรด์ เป็นแหล่งพลังงานสำคัญของร่างกาย โดยอาหารพวกแป้งและน้ำตาล รวมทั้งโปรตีนที่เหลือใช้ จะถูกเปลี่ยนเป็นไตรกลีเซอไรด์และถูกเก็บสะสมไว้ที่ชั้นไขมันเพื่อเป็นพลังงานสำรอง ไขมันชนิดนี้ปัจจุบันมีข้อมูลบ่งชี้ว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจขาดเลือดเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ที่อ้วน เป็นเบาหวาน ความดันโลหิตสูงและมีระดับ เอช-ดี-แอล โคเลสเตอรอลต่ำ

จะทราบได้อย่างไรว่ามีภาวะไขมันในเลือดสูงหรือไม่
ท่านที่มีอายุมากกว่า 20 ปี ควรวัดระดับไขมันในเลือดทุก ๆ 5 ปี ในการตรวจเลือดควรงดอาหารก่อนตรวจประมาณ 12-14 ชม. หากคุณมีระดับตัวเลขไขมันต่าง ๆ แล้ว ลองตรวจสอบค่ากับตารางมาตรฐานได้ง่าย ๆ ตามตาราง

ไขมันในเลือดสูง อันตรายอย่างไร
    ภาวะไขมันในเลือดสูง เป็นสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดแข็งตัว โดยเมื่อโคเลสเตอรอลสะสมอยู่ในเส้นเลือดเป็นเวลานาน โคเลสเตอรอลจะจับเกาะบริเวณผนังเส้นเลือด ทำให้เส้นเลือดแข็งตัว และเสียความยืดหยุ่นหรือไปอุดตันทางเดินโลหิต ทำให้หัวใจทำงานหนักมากขึ้น เป็นสาเหตุของโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ ซึ่งอาจทำให้เป็นอัมพาต หรือเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ดังที่กล่าวมาแล้ว นอกจากนี้อาจเกิดเส้นเลือดในสมองแตกหรือเกิดหัวใจวายได้
การมีระดับ แอล-ดี-แอล โคเลสเตอรอล (LDL-C) มากกว่า 100 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร จัดเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของการเกิดภาวะหลอดเลือดแข็ง และยังพบว่า คนที่มีปริมาณระดับ เอช-ดี-แอล โคเลสเตอรอล (HDL-C) น้อยกว่า 40 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร จะมีโอกาสเป็นโรคหัวใจขาดเลือดมากกว่าคนที่มี เอช-ดี-แอล โคเลสเตอรอล สูง
ขอขอบคุณข้อมูล สีลมการแพทย์